วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ส่งงาน Dos ระบบปฏิบัติการ

นายสมพงศ์ มนตรีวงศ์
5022252105
วิทยาการคอมพิวเตอร์
1.กฎการตั้งชื่อไฟล์มีอะไรบ้าง
ตอบ..กฎการตั้งชื่อ file
1. มีความยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร
2. ไม่มีช่องว่างระหว่างชื่อ
3. ไม่มีอักขระพิเศษดังนี้ * ? . \ " / [ ] : – < > + = ; ,
4. สามารถใส่นามสกุลหรือส่วนขยาย (Extension) ได้ไม่เกิน 3 ตัว ซึ่งต้องมีจุดคั่นระหว่างชื่อกับนามสกุล ดังตัวอย่าง
TEXT.BAK 90PRICES.WK1 LETTER.DOC CUSTOMER.DBF AUTOEXEC.BAT COMMAND.COM CUPRINT.EXE

2.สัญลักษณ์ใดที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในการตั้งชื่อไฟล์
ตอบ.. * ? . \ " / [ ] : – < > + = ; ,
3.จงอธิบายคำสั่งต่อไปนี้
1. C:\>DIR สั่งให้เครื่องแสดงไฟล์ทั้งหมดจากแผ่นในไดรว์ C:
2.C:\>DIR D: สั่งให้เครื่องแสดงไฟล์ทั้งหมดจากแผ่นในไดรว์ D:
3.C:\>DIR/P ¿ สั่งให้เครื่องแสดงทีละหน้า (Page) แล้วหยุดรอ จนกว่าจะมีการกดคีย์ใดๆ
4. C:\>DIR/W ¿ สั่งให้เครื่องแสดงชื่อไฟล์บรรทัดละ 5 ไฟล์ (wide)
5.C:\>DIR *.EXE ¿ แสดงทุกไฟล์ที่มีส่วนขยาย (หรือ นามสกุล) เป็น EXE
6.C:\>DIR S*.* ¿ แสดงทุกไฟล์ที่ชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร S นามสกุลอะไรก็ได้
7.C:\>DIR A*.* ¿ แสดงทุกไฟล์ ที่ชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A นามสกุลอะไรก็ได้

4.Copy มีหน้าที่..ทำการคัดลอกไฟล์ 1 ไฟล์ หรือมากกว่าไปยังแผ่นดิสก์แผ่นเดียวกัน หรือแผ่นอื่น
ตอบ..
1. C:\>copy test.txt D: ¿
หมายถึง คัดลอกไฟล์ชื่อ test.txt จาก C: ไปไว้ที่ D: โดยใช้ชื่อเดิม
2. C:\>copy test.txt A:final.txt ¿
หมายถึง คัดลอกไฟล์ชื่อ test.txt จาก C: ไปไว้ที่ A: โดยให้เปลี่ยนชื่อเป็น final.txt
3. C:\>copy A:s*.* ¿
หมายถึง การคัดลอกไฟล์ทุกไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วยอักษร S ใน drive A: มาไว้ใน drive C:

5.ยกตัวอย่างการใช้คำสั่ง ren จากไฟล์ข้อ 4
ตอบ.. 1. C:\>copy test.txt D: ¿
2. C:\>ren final.txt D: ¿

6.ยกตัวอย่างการใช้คำสั่ง del จากไฟล์ข้อ 4
ตอบ.. C:\>A: final.txt ¿
C:\>del A: final.txt ¿

7.ยกตัวอย่างการใช้คำสั่ง attrib จากไฟล์ข้อ 4
ตอบ..เปลี่ยนชื่อไฟล์ให้เป็นชื่อใหม่ ดังตัวอย่างC:\>attrib +r +h old.exe หมายถึง กำหนด file ให้อ่านได้อย่างเดียว และซ่อนตัวจากการมองเห็น


8.จงใช้คำสั่ง dos สร้าง file directory ให้ได้ผลลัพธ์ต่อไปนี้
ตอบ..
C:/a /b/a1 /b1 /b2C:\>md a C:\>md b C:\>cd a C:\a>md a1 C:\a>cd.. C:\>cd b C:\b>md b1 C:\b>md b2 C:\b>cd..

9.จงอธิบาย
1. CLS (Clear Screen)
หน้าที่ ลบหน้าจอ เมื่อใช้คำสั่งนี้ หน้าจอจะว่าง เหลือเฉพาะ C:\> (ถ้าขณะนั้นเครื่องทำงานอยู่
ที่ drive C:) การใช้คำสั่งใช้ดังนี้
C:\>cls ¿
2. DATE
หน้าที่ ใช้สำหรับกำหนด วัน เดือน ปี ที่เป็นปัจจุบันไว้ในหน่วยความจำของเครื่อง
C:\>DATE ¿
หน้าจอจะปรากฏข้อความ
Current Date Friday 01-05-1996
Enter new Date (mm-dd-yy)
ให้ใส่ เดือน วันที่ และปี ค.ศ. ที่ต้องการเปลี่ยนตามรูปแบบ แล้วกด Enter แต่ถ้าไม่ต้องการเปลี่ยน ก็
ให้กด Enter ผ่าน
3. TIME
หน้าที่ เป็นคำสั่งสำหรับใช้กำหนดเวลาที่เป็นปัจจุบันก่อนการทำงาน ซึ่งจะทำให้เราทราบได้ว่า การ
แก้ไขข้อมูลครั้งล่าสุดได้กระทำเมื่อไร
C:\>TIME ¿
หน้าจอจะปรากฏข้อความ
Current Date Friday 01-05-1996
Enter new Date (mm-dd-yy)
Current Time is 00:45:50
Enter new time (hh:mm:ss)
ให้ทำการป้อนเวลาปัจจุบันตามแบบฟอร์ม เสร็จแล้วกด Enter แต่ถ้าไม่ต้องการเปลี่ยนเวลาก็กด Enter
ผ่าน ซึ่งหน้าจอก็จะปรากฏเครื่องหมาย C:\>
4. VER
หน้าที่ ใช้สำหรับตรวจสอบดูว่า DOS ที่เราใช้อยู่เป็นรุ่นอะไร โดยการสั่ง
C:\>VER ¿
หน้าจอจะปรากฏข้อความว่า MS-DOS VERSION 6.22
5. VOL
รูปแบบคำสั่ง (I) VOL [d:]
เป็นคำสั่งในการขอดูชื่อแผ่น (volume label)
6. FORMAT
แผ่นดิสก์ที่ซื้อมาใหม่นั้น จะคล้ายคลึงกับตึกที่ถูกสร้างเสร็จใหม่ๆ มีลักษณะเป็นเนื้อที่โล่งกว้าง ซึ่งถ้าเราจะทำเป็นสำนักงาน ก็ต้องมีการกั้นเป็นห้องๆสำหรับใช้งานตามวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ห้องผู้จัดการห้องธุระการ เป็นต้น ซึ่งแผ่นดิสก์เปล่าที่วางขายทั่วไป ก็อยู่ในลักษณะเดียวกันคือ ยังคงเป็นเนื้อที่ว่างๆ ที่ยังไม่มีการจัดแบ่งเป็นห้องใดๆเลย ดังนั้น สิ่งแรกที่จะต้องทำกับแผ่นดิสก์เหล่านี้ก่อนที่จะนำมาใช้งานก็คือ การเตรียมแผ่นให้พร้อมที่จะเก็บข้อมูลเสียก่อน โดยวิธีการที่เรียกว่า การฟอร์แมตแผ่น (Disk Formatting) การฟอร์แมตจะเป็นวิธีการที่แบ่งเนื้อที่ในแผ่นดิสก์ออกเป็นส่วนๆในลักษณะที่เป็นวงๆ จากขอบนอกสุดของแผ่น ไปจนถึงขอบในสุด แต่ละวงนี้เรียกว่า แทรค (TRACK) โดยในแต่ละแทรคก็จะถูกแบ่งออกเป็นห้องย่อยๆ เรียกว่า เซคเตอร์ (SECTOR) ซึ่งแต่ละเซคเตอร์นี้เอง ที่จะใช้เป็นที่เก็บข้อมูล การฟอร์แมตแผ่นโดยใช้คำสั่ง FORMAT นั้น นอกจากจะใช้เตรียมแผ่นที่ซื้อมาใหม่แล้ว ยังใช้กับแผ่นที่ใช้งานเก่าได้ด้วย ซึ่งในกรณีที่นำแผ่นเก่ามาฟอร์แมตใหม่ ก็จะเป็นการลบล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกเก็บอยู่แต่เดิมในแผ่นออกไปด้วย ดังตัวอย่าง
C:\>FORMAT A: ¿ สั่งให้เครื่องทำการฟอร์แมตแผ่น A
C:\>FORMAT A:/S ¿ ฟอร์แมตแผ่น A แล้วบันทึก DOS ลงไปด้วย
C:\>FORMAT B:/V ¿ ฟอร์แมตแผ่น A และตั้งชื่อแผ่น (Volume Label)

10.การดู option ของคำสั่งพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ.. C:\>dir /เช่น C:\>dir d /เป็นการดู option ของ D:

ข้อสอบกลางภาควิชาระบบปฏิบัติการ

1.จงบอกองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์และหน้าที่ระบบปฏิบัติการ
ตอบ..องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนคือ
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware )
2.ซอฟต์แวร์ (Software)
3.บุคลากร (Peopleware)
4.ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
5.กระบวนการทำงาน (Procedure)
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
1. การติดต่อกับผู้ใช้ หรือยูเซอร์อินเทอร์เฟซ (User interface)
2. ควบุคมดูแลอุปกรณ์ (Control devices)
3. จัดสรรทรัพยากร หรือรีซอร์สระบบ (Resources management)

2.System Call มีหน้าที่อย่างไร อยู่ส่วนไหนของระบบปฏิบัติการ(จงวาดโครงสร้างของระบบประกอบ)
ตอบ..
- System Call ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่าง Application Program กับ Hardware หรือ การจัดการกับระบบต่างๆ เช่นระบบไฟล์ หรือการจัดการ Process ของ OS นั้น Application จะติดต่อ OS ได้อย่างไร วิธีที่ OS ใช้ก็คือการมี System Call ที่เปรียบเสมือน Subroutine ใน OS โปรแกรมจะเรียกใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ ของ OS เหมือนการเรียกใช้ Subroutine ซึ่ง compiler ในภาษาโปรแกรมจะแปลงโปรแกรมย่อยนั้นให้เป็นวิธีการเรียก System Call ในระบบ multitasking ที่มีหลายงานทำงานพร้อมกัน OS จะแยก Application Program ออกจาก Hardware และตัว OS เอง ดังนั้น Application จะไม่สามารถเรียกโดยการกระโดดเข้ามาทำงานในตำแหน่งของโปรแกรมย่อยโดยตรงได้ การเรียกใช้ System Call นั้นมักจะอาศัยคำสั่งภาษาเครื่องพิเศษคือ Software Interrupt พร้อมกับส่ง parameter เข้าไปให้ OS กับประเภทการประมวลผล
- การควบคุมโปรเซส - การจัดการกับไฟล์ - การจัดการดีไวซ์ - การบำรุงรักษาข้อมูล - การติดต่อสื่อสาร
ถ้ามันแปลยากนัก ก็ลองหาที่อื่นก็จะสะดวกกว่า :STFW




3.โครงสร้างของ Kernal แบบ Micro Kernal และ Monolithic Kernal
ตอบ..
เคอร์เนล [1] (kernel อ่านว่า เคอร์เนิล) หมายถึง ส่วนประกอบหลักของระบบปฏิบัติการ ซึ่งคอยดูแลบริหารทรัพยากรของระบบ และติดต่อกับฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ เนื่องจากว่าเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ เคอร์เนล นั้นเป็นฐานล่างสุดในการติดต่อกับทรัพยากรต่างๆ เช่น หน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลาง และ อุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต
1. ประเภทรูปแบบ เคอร์เนล
รูปภาพแสดงหลักการทำงานของโมโนลิทริค เคอร์เนล
1. 1. โมโนลิทริค เคอร์เนล (Monolithic kernel)
โมโนลิทริค เคอร์เนลมีอยู่ใน:
Linux kernel
MS-DOS, Microsoft Windows 9x Series (Windows 95 Windows 98 เป็นต้น)
Agnix
1. 2. ไมโครเคอร์เนล (Microkernel)
รูปภาพแสดงหลักการทำงานของไมโครเคอร์เนล
ตัวอย่างของไมโครเคอร์เนล และ ระบบปฏิบัติการที่มีพื้นบน ไมโครเคอร์เนล:
AIX
AmigaOS
Amoeba
Chorus microkernel
EROS
Haiku
K42
LSE/OS
KeyKOS
The L4 microkernel family
Mach, used in GNU Hurd, NEXTSTEP, OPENSTEP, and Mac OS X
MERT
Minix
MorphOS
NewOS
QNX
Phoenix-RTOS
RadiOS
Spring operating system
VSTa
Symbian OS

4.จงอธิบายการทำงานของ Process State และการตัดสินใจ ของ CPU ว่าจะดึง Process ไหนมาทำงาน
ตอบ..
Process (สถานะของโปรเซส) การแสดงสถานะของโปรเซสที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อแต่ละโปรเซสกำลังทำงานอยู่นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะของโปรเซสในแต่ละช่วงเวลา โดยการทำงานของโปรเซสจะเกิดขึ้นบนสถานะใดสถานะหนึ่งเท่านั้น ซึ่งสถานะของโปรเซสประกอบด้วย
1. New คือ สถานะที่โปรเซสใหม่กำลังถูกสร้างขึ้น
2. Ready คือ สถานะที่โปรเซสกำลังรอคอยหรือพร้อมที่จะครอบครองหน่วยซีพียูเพื่อทำงาน
3. Running คือ สถานะที่โปรเซสได้ครอบครองซีพียู หรือโปรเซสที่กำลังทำงานตามคำสั่งของโปรแกรม
4. Waiting คือสถานะที่โปรเซสได้สิ้นสุดลง
จากสถานะของโปรเซส จะทำให้ทราบว่าโปรเซสใดที่ถูกส่งไปให้ ซีพียูทำงานก่อน ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องมีการตัดสินในการส่งโปรเซสเข้าครอบครองซีพียู



5.จงอธิบายรายละเอียดและหน้าที่ของ PCB ( Process Control Block )
ตอบ.. PCB ( Process Control Block ) บล็อกควบคุมโปรเซส เป็นหน้าที่ของหน่วยความจำที่ระบบปฏิบัติการกำหนดไว้เพื่อเก็บข้อมูลที่สำคัญของโปรเซสไว้ เมื่อระบบปฏิบัติการมอบเวลาซีพียูให้โปรเซสอื่นครอบครองหลังจากโปรเซสนั้นได้กลับมาครอบครองเวลาซีพียูอีกครั้งหนึ่ง โปรเซสจะนำข้อมูลกลับมาใช้งานข้อมูลของ PCB ของโปรเซส


6.จงบอกความแตกต่างของ Process และ Thread
ตอบ.. Process คือ โปรแกรมที่กำลังเอ็กซิคิวต์อยู่ โปรเซสนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบแบ่งเวลาที่จำเป็นต้องใช้รีซอร์สของระบบเพื่อให้งานสำเร็จรีซอร์สที่ต้องการ
Thread คือ ส่วนประกอบย่อยของโปรเซสนั่นเอง


7.ข้อควรพิจารณาในการออกแบบ Algorithm ที่ใช้จัดการเวลาใน CPU คือ
ตอบ.. 1. อรรถประโยชน์ของซีพียู (CPU Utilization)
2. ทรูพุฒ ( Throughput )
3. เวลาทั้งหมด (Turnaround Time )
4. เวลารอคอย ( Waiting Time )
5. เวลาตอบสนอง ( Response Time )


8.จงบอกหลักการและวิธีการทำงานของ Algorithm ที่ใช้จัดการเวลาใน CPU ตลอดข้อดีและข้อเสีย
ตอบ.. วิธีการทำงานของ Algorithm แบบ FCFS คือ ลักษณะการทำงานของการจัดการซีพียู แบบมาก่อนได้ก่อนนี้ เป็นอัลกอลิทึมแบบไม่ให้สิทธิก่อน นั่นก็คือเมื่อโปรเซสใดครอบครองเวลาซีพียุแล้ว ซีพียูจะไม่มีโอกาสได้ว่างจนกว่าความต้องการใช้ซีพียูนั้นจะสิ้นสุดลงด้วยการสลับไปยังเวลา อินพุต / เอาต์พุต ซึ่งจะก่อเกิดปัญหาใหญ่ให้กับระบบคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลาเพราะผู้ใช้คนอื่นๆอาจต้องรอคอยเวลาให้โปรเซสของตนเอง ซึ่งอาจเป็นโปรเซสที่สั้นๆ เสร็จลงพร้อมๆกับโปรเซสของผู้อื่นที่ใช้เวลายาวนานกว่ามากๆ
วิธีการทำงานของ Algorithm แบบ SJF คือ เป็นวิธีที่ไม่ได้คำนึงถึงลำดับในคิวงาน ว่างานใดมาก่อน แต่จะพิจารณาถึงงานหรือโปรเซสที่ใช้เวลาการประมวลผลน้อยที่สุดก็จะได้บริการหน่วยซีพียูก่อน อย่างไรก็ตาม หากกลุ่มงานมีเวลาประมวลผลเท่ากัน ก็จะพิจารณาโปรเซสแบบมาก่อนได้ก่อนแทน
วิธีการทำงานของ Algorithm แบบ วิธีตามลำดับความสำคัญ คือ เป็นวิธีที่มีการกำหนดความสำคัญของโปรเซสแต่ละโปรเซสไม่เท่ากัน ดังนั้นโปรเซสที่จะเข้าครอบครองซีพียู ต้องมีลำดับความสำคัญสูงสุดในกลุ่ม ดังนั้นโปรเซสใดที่มีลำดับความสำคัญสูงกว่าก็จะถูกส่งไปประมวลผลก่อน ถึงแม้ว่าจะมาทีหลังก็ตาม ในขณะที่โปรเซสที่มีความสำคัญต่ำกว่าถึงแม้จะมาก่อน ก็จะถูกพิจารณาทีหลังก็ตามลำดับความสำคัญต่อไป
วิธีการทำงานของ Algorithm แบบ วิธีหมุนเวียนการทำงาน คือ การจัดตารางด้วยวิธีการหมุนเวียนการทำงานนี้ ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลา โดยจะใช้พื้นฐานวิธีแบบมาก่อนได้ก่อน (FCFS) เป็นหลัก แต่โปรเซสจะไม่สามารถครอบครองซีพียูได้เท่ากับเวลาที่ต้องการ ดังนั้น ด้วยวิธีนี้จึงมีการกำหนดให้แต่ละโปรเซสที่เข้าใช้บริการซีพียูจะถูกจำกัดด้วยเวลาใช้งานที่เท่าๆ กัน ซึ่งช่วงเวลาสั้นๆ ที่เรียกว่า เวลาควันตัม (Quantum Time) โดยอาจมีช่วงเวลาระหว่าง 10 ถึง 100 มิลลิวินาที ครั้นเมื่อโปรเซสใดถูกประมวลผลจนครบเวลาควันตัมแล้ว ก็จะถูกนำออกไปจัดคิวต่อท้ายใหม่ (กรณียังประมวลผลไม่เสร็จ) และจะนำโปรเซสลำดับถัดไปในคิวมาประมวลผล ซึ่งเป็นไปในลักษณะหมุนเวียนกันทำงานนั้นเอง ดังนั้นโปรเซสจะไม่สามารถใช้เวลาเกินกว่าเวลาควันตัมที่กำหนด แต่สามารถใช้เวลาประมวลผลน้อยกว่าเวลาควันตัมได้


9.เงื่อนไขที่ทำให้เกิด DeadLock มีอะไรบ้าง
ตอบ..วงจรอับอาจจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเงื่อนไขทั้งสามข้อต่อไปนี้เกิดขึ้น
1. เมื่อมีทรัพยากรที่ไม่สามารถถูกใช้ร่วมกับหลายๆ โปรเซสพร้อมกันได้ (Mutual exclusion condition) ถ้ามีทรัพยากรอย่างน้อย 1 ตัวในระบบที่จะยอมให้โปรเซสเพียง 1 ตัวใช้งานมันได้เท่านั้น นั่นก็คือถ้ามีโปรเซสอื่นเข้ามาร้องขอใช้งาน โปรเซสนั้นจะต้องรอจนกว่าโปรเซสดังกล่าวได้ใช้งานเสร็จและปล่อยทรัพยากรนั้นว่าง
2. เมื่อมีการถือครองและรอ (Hold and wait condition)ถ้าโปรเซสสามารถถือครองทรัพยากรที่ตัวเองได้รับ และในขณะเดียวกันก็สามารถทำการร้องขอทรัพยากรเพิ่มเติมได้
3. เมื่อการทำงานในระบบไม่มีการแทรกกลางคัน (No preemption condition) ถ้าโปรเซสกำลังใช้งานทรัพยากรอยู่และระบบไม่สามารถบังคับให้โปรเซสนั้นปลดปล่อยทรัพยากรนั้นให้เป็นอิสระได้ โดยทรัพยากรจะเป็นอิสระได้ก็จ่อเมื่อโปรเซสยกเลิกการถือครองเท่านั้น
อย่างไรก็ เงื่อนไขทั้งสามอาจจะทำให้เกิด หรือ ไม่ทำให้เกิดวงจรอับก็ได้ วงจรอับจะเกิดขึ้นจริง ๆ ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขเกิดขึ้น
4. เมื่อเกิดวงจรรอคอย () ถ้าเกิดวงจรลูกโซ่ของโปรเซส 2 ตัว หรือมากกว่า ที่ต่าง ๆ รอคอยทรัพยากรที่ถือครองโดยโปรเซสที่อยู่ในวงจรลูกโซ่นั้น


10.Vitual Memory คืออะไร มีกระบวนการทำงานอย่างไร
ตอบ.. Virtual Memory คือ หน่วยความจำเสมือน
หน่วยความจำเสมือนจะใช้พื้นที่หน่วยความจำสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ มาเป็นส่วนหหนึ่งของหนึ่งของหน่วยความจำหลัก ด้วยการจำลองพื้นที่หน่วยความจำบนฮาร์ดดิสก์เสมือนเป็นหน่วยความจำหลักที่เชื่อมโยงกับหน่วยความจำหลักเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้น หน่วยความจำเสมือนจึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์ไปใช้งาน





11.จงหาค่าเฉลี่ยเวลาการใช้ CPU ของโปรเซสที่กำหนดให้ต่อไปนี้(แสดงวิธีทำและขั้นตอนอย่างละเอียด)
Process
Time
P1
8 ms
P2
10 ms
P3
20 ms
P4
15 ms
P5
30 ms
P6
22 ms

11.1 Algorithm แบบ FCFS
ตอบ..
P1
P2
P3
P4
P5
P6
0 8 18 38 53 83 105
P1 = 0
P2 = 8
P3 = 18 ( 0 + 8 + 18 + 38 + 53 + 83 ) / 6 = 33.33 มิลลิวินาที
P4 = 38
P5 = 53
P6 = 83

11.2 Algorithm แบบ SJF
ตอบ..
P1
P2
P4
P3
P6
P5
0 8 18 33 53 75 105
P1 = 0
P2 = 8
P4 = 18 ( 0 + 8 + 18 + 33 + 53 + 75 ) / 6 = 31.16 มิลลิวินาที
P3 =33
P6 = 53
P5 = 75

11.3 Algorithm แบบ Round Robin กำหนดให้ค่า Quantum Time =8
ตอบ..
P1
P2
P3
P4
P5
P6
P2
P3
P4
P5
P6
P3
P5
ต่อ0 8 16 24 32 40 48 50 58 65 73 81 85 93

P6
P5
93 99 105

11.4 Algorithm แบบ Priority โดย Process มี Priority ดังนี้
4,3,2,1,6,5
ตอบ..
P4
P3
P2
P1
P6
P5
0 15 35 45 53 75 105
P4 = 0
P3 = 15
P2 = 35 ( 0 + 15 + 35 + 45 + 53 + 75 ) / 6 = 54.66 มิลลิวินาที
P1 = 45
P6 = 53
P5 = 75

11.5 ถ้า Process ที่ 2,4,6 เป็นงาน ที่ต้องการแบบเร่งด่วน ( ForeGround ) และ Process 1,3,5 ต้องการเป็นลำดับถัดมา ( Background ) จงใช้ Algorithm ในการหาค่าเฉลี่ยดังกล่าว
ตอบ..
P2
P4
P6
P1
P3
P5
0 10 15 47 55 75 105
P2 = 0
P4 = 10
P6 = 15 ( 0 + 10 + 15 + 47 + 55 + 75 ) / 6 = 33.66 มิลลิวินาที
P1 = 47
P3 = 55
P5 = 75

ไม่มีความคิดเห็น: