วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

RSA


นายสมพงศ์ มนตรีวงศ์

5022252105

วิทยาการคอมพิวเตอร์


วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ลินุ๊กซ์ ( Linux )


นายสมพฃศ์ มนตรีวงศ์
5022252105
วิทยาการคอมพิวเตอร์


ลินุกซ์ <>
ประวัติลีนุส ทอร์วัสด์สผู้เริ่มพัฒนาลินุกซ์เป็นคนแรก คือ ลินุส โตร์วัลดส์ (Linus Torvalds) ชาวฟินแลนด์ เมื่อสมัยที่เขายังเป็นนักศึกษาคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ปี พ.ศ. 2526 ริชาร์ด สตอลแมน (Richard Stallman) ได้ก่อตั้งโครงการกนูขึ้น จุดมุ่งหมายโครงการกนู คือ ต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติการคล้ายยูนิกซ์ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งระบบ ราวช่วงพ.ศ. 2533 โครงการกนูมีส่วนโปรแกรมที่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการเกือบครบทั้งหมด ได้แก่ คลังโปรแกรม คอมไพเลอร์ โปรแกรมแก้ไขข้อความ และเปลือกระบบยูนิกซ์ ซึ่งขาดแต่เพียงเคอร์เนลเท่านั้น ในพ.ศ. 2533 โครงกากรูได้พัฒนาเคอร์เนลชื่อ Hurd เพื่อใช้ในระบบกนูซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับความเร็วในการประมวลผลในพ.ศ. 2534 โตร์วัลดส์เริ่มโครงการพัฒนาเคอร์เนล ขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว โดยอาศัย Minix ซึ่งเป็นระบบที่คล้ายกับ Unix ซึ่งมากับหนังสือเรื่องการออกแบบระบบปฏิบัติการ มาเป็นเป็นต้นแบบในการเขียนขึ้นมาใหม่โดย Torvalds เขาพัฒนาโดยใช้ IA-32 assembler และภาษาซี คอมไพล์เป็นไฟล์ไบนารี่และบูทจากแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ เขาได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกระทั่งสามารถบูทตัวเองได้ (กล่าวคือสามารถคอมไพล์ภายในลินุกซ์ได้เลย) และในปัจจุบันมีนักพัฒนาจากพันกว่าคนทั่วโลกได้เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนาโครงการ Eric S. Raymond ได้ศีกษากระบวนการพัฒนาดังกล่าวและเขียนบทความเรื่อง The Cathedral and the Bazaarในรุ่น 0.01 นี้ถือว่ามีเครื่องมือที่เพียงพอสำหรับระบบ POSIX ที่ใช้เรียก ลินุกซ์ ที่รันกับ กนู Bash Shell และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและอย่างรวดเร็วโตร์วัลดส์ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาระบบต่อไป ซึ่งต่อมาก็สามารถรันบน X Window System และมีการเลือกนกเพนกวินที่ชื่อ Tux ให้เป็นตัวนำโชคหรือ Mascot ของระบบลินุกซ์

การใช้งาน
การใช้งานดั้งเดิมของลินุกซ์ คือ ใช้เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ แต่จากราคาที่ต่ำ ความยืดหยุ่น พื้นฐานจากยูนิกซ์ ทำให้ลินุกซ์เหมาะกับงานหลาย ๆประเภท
ประเภท
ลินุกซ์ ถือเป็นส่วนสำคัญของซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า LAMP ย่อมาจาก Linux, Apache, MySQL, Perl/ PHP/Python ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ และพบมากสุดระบบหนึ่ง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ซึ่งพัฒนาสำหรับระบบนี้คือ มีเดียวิกิ ซอฟต์แวร์สำหรับวิกิพีเดียเนื่องจากราคาที่ต่ำและการปรับแต่งได้หลากหลาย ลินุกซ์ถูกนำมาใช้ในระบบฝังตัว เช่นเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ลินุกซ์เป็นคู่แข่งที่สำคัญของ ซิมเบียนโอเอส ซึ่งใช้ในโทรศัพท์มือถือจำนวนมาก และใช้แทนวินโดวส์ซีอี และปาล์มโอเอส บนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา เครื่องบันทึกวีดิโอก็ใช้ลินุกซ์ที่ดัดแปลงเป็นพิเศษ ไฟร์วอลล์และเราเตอร์หลายรุ่น เช่นของ Linksys ใช้ลินุกซ์และขีดความสามารถเรื่องทางเครือข่ายของมันระยะหลังมีการใช้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการของซูเปอร์คอมพิวเตอร์มากขึ้น ในรายชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TOP500 ของเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดสองอันดับแรกใช้ลินุกซ์ และจาก 500 ระบบ มีถึง 371 ระบบ (คิดเป็น 74.2%) ให้ลินุกซ์แบบใดแบบหนึ่งเครื่องเล่นเกม โซนี่ เพลย์สเตชัน 3 ที่ออกในปี พ.ศ. 2549 รันลินุกซ์ โซนียังได้ปล่อย PS2 Linux สำหรับใช้กับเพลย์สเตชัน 2 อีกด้วย ผู้พัฒนาเกมอย่าง Atari และ id Software ก็เคยออกซอฟต์แวร์เกมบนลินุกซ์มาแล้วการติดตั้งรายการลินุกซ์ดิสทริบิวชัน (ดิสโทร) ทั้งหมดการติดตั้งโดยทั่วไป จะติดตั้งผ่านซีดีที่มีโปรแกรมบรรจุอยู่ในแผ่นซึ่งแผ่นซีดีนั้นสามารถหามาได้หลายวิธี เช่นสามารถเบิร์นได้จาก ISO image ที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต หรือสามารถหาซื้อซีดีได้ในราคาถูกโดยอาจจะซื้อรวมหรือแยกพร้อมกับคู่มือ เนื่องจากสัญญาอนุญาตของโปรแกรมเป็นแบบ GPL ลินุกซ์จากผู้จัดทำบางตัวเช่น เดเบียน สามารถติดตั้งได้จากโปรแกรมขนาดเล็กผ่านฟลอปปีดิสก์ ซึ่งเมื่อติดตั้งส่วนหนึ่งสำเร็จ ตัวโปรแกรมของมันเองจะดาวน์โหลดส่วนอื่นเพิ่มขึ้นมาผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือสำหรับบางตัวเช่นอูบุนตุ สามารถทำงานได้ผ่านซีดีโดยติดตั้งในแรมในช่วงที่เปิดเครื่องการทำงานของลินุกซ์สามารถติดตั้งได้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง จนถึงเครื่องที่สมรรถนะต่ำ ที่ไม่มีฮาร์ดไดรฟ์หรือมีแรมน้อยโดยทำงานเป็นเครื่องไคลเอนต์โดยที่เครื่องไคลเอนต์ สามารถบูตและเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆผ่านทางเน็ตเวิร์กจากเครื่องเทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งวิธีการนี้ยังคงช่วยให้ประหยัดเวลาในการติดตั้งโปรแกรม เพราะติดตั้งเพียงเครื่องเดียวที่เทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงราคาของเครื่องไคลเอนต์ที่ไม่จำเป็นต้องมีสมรรถภาพสูงซึ่งมีราคาถูกกว่าเครื่องทั่วไป
การเขียนโปรแกรมบน
ลินุกซ์ส่วน GNU Compiler Collection (GCC) สนับสนุนการเขียนภาษาโปรแกรมที่สำคัญ เช่น ภาษาซี ภาษาซีพลัสพลัส และภาษาจาวา รวมถึงภาษาอื่น ๆ รวมถึงมี IDE จำนวนมาก ซึ่งได้แก่ Emacs Vim Eclipse KDevelop Anjuta

ยูนิกซ์ ( Unix )

นายสมพงศ์ มนตรีวงศ์

5022252105

วิทยาการคอมพิวเตอร์


ยูนิกซ์<>
Unix คืออะไร ?อุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ก็มีมากมายหลายชิ้นแต่เคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่าว่าเจ้าคอมพิวเตอร์ รู้จักอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างไรและติดต่อรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่ างไรการท่ จะทำให้คอมพิวเตอร์ใช้อุปกรณ์ เหล่านี้ร่วมกันทำงานได้ก็จะต้องมีอะไรสักอย่างหนึ่งมาดูแลควบคุมใช่ไหม?สิ่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์ทั้งหมดที่รวมอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็คือ"ระบบปฏิบัติการ"(Operating System) หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่ า โอเอส (OS)เจ้าตัวระบบปฏิบัติการที่ว่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆเท่านั้นแต่มันยังมีหน้าที่ รับคำสั่งที่ป้อนจากผู้ใช้มาแปลเพื่อสั่งให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการอีกด้วยในปัจจุบันมีระบบปฏิบัติการ มากมายหลายชนิดหลายระบบให้เลือกใช้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล หรือ หน่วยงานเช่น ดอส (DOS) วินโดว์ส (WINDOWS)โอเอส/ทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX) เป็นต้น

ยูนิกซ์คืออะไร

การเข้าใช้งานระบบยูนิกซ์

คำสั่งพื้นฐานในการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ในยูนิกซ์

คำสั่งในการตรวจสอบและติดต่อกับผู้ใช้ที่กำลงอยู่ในระบบ

ยูนิกซ์ คืออะไร

ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทหนึ่ง ที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system)ซี่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติด กับระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานใน ลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคน ในเวลาเดียวกัน เรียกว่า มัลติยูสเซอร์ (multiusers)และสามารถทำงานได้หลายๆงานใน เวลาเดียว กันในลักษณะที่เรียกว่ามัลติทาสกิ้ง (multitasking)

การเข้าใช้งานยูนิกซ์

การที่ผู้ใช้จะขอใช้บริการบนระบบยูนิกซ์ได้นั้นจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลระบบหรือที่เรียกว่าซิสเตมแอดมินิสเตรเตอร์ (System Administrator) ก่อน หลังจากนั้นผู้ใช้จะได้รับรายชื่อผ ู้ใช้หรือล๊อกอินเนม (login name) และรหัสผ่าน (password) มา แต่บางระบบ จะมีรายชื่ออิสระเพื่อให้ผู้ใช้ชั่วคราว โดยอาจมีล๊อกอินเนมเป็น guest,demo หรือ fieldซึ่งจะไม่ต้องใช้รหัสผ่าน การเข้าใช้ระบบเราเรีนกว่า ล๊อกอิน (login) โดยทั่วไปเมื่อระบบพร้อมที่จะให้บริการจะปรากฏข้อความว่า login:หรือข้อความใน ลักษณะที่คล้ายๆ กันรวมเรียกว่า พรอมต์ล๊อกอิน (Prompt log in)เมื่อปรากฏหรอมต์แล้วก็ให้พิมพ์ล๊อกอินเนมของผู้ใช ตามด้วย การกดปุ่มจากนั้นระบบจะสอบถามรหัสผ่าน ก็พิมพ์รหัสที่ถูกต้องลงไปตามด้วยปุ่มซึ่งรหัสผ่านที่พิมพ์ลงไปจะไม่ถูกแสดงผลออก ทางจอภาพเมื่อรหัสผ่านถูกต้องก็จะปรากฏเครื่องหมาย $ ซึ่งเป็นเครื่องหมายเตรียมพร้อมของระบบรูปที่ 1 แสดงการขอเข้าใช้ระบบยูนิกซ์ หมายเหตุ : ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จะถือความแตกต่างกันระหว่างตัวอักษรตัวเล็ก กับตัวอักษรตัวใหญ่ด้วย เช่น FILE1, File1,file1 จะไม่เหมือนกัน ดังนั้นการใส่รหัสผ่าน จะต้องเช็คให้ดี ๆ

คำสั่งพื้นฐานในการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ในยูนิกซ์$ ls [-altCF] [directory …]

เป็นการแสดงชื่อไฟล์ที่มีอยู่ในไดเรกทอรี่ที่ระบุ ถ้าไม่ระบุจะแสดงสิ่งที่อยู่ในรากปัจจุบัน) โดยแสดงในรูป แบบที่มีมากกว่า 1 ชื่อต่อ 1 บรรทัด คล้ายกับคำสั่ง DIR/W ระบบปฏิบัติการดอสพารามิเตอร์บางส่วนของคำสั่งเป็น ดังนี้

-a แสดงชื่อไฟล์ที่ซ่อนไว้

-l แสดงรายชื่อแบบยาว

-t เรียงลำดับไฟล์ตามลำดับเวลาที่มีการแก้ไขล่าสุด

-C แสดงชื่อไฟล์มากกว่าหนึ่งชื่อในแต่ละบรรทัดแต่ถูกคั่นด้วย tab

-F แสดงฃื่อรากตามด้วยเครื่องหมาย /และชื่อไฟล์ที่ทำงานได้ด้วยเครื่องหมาย *

รายละเอียดของไฟล์คำสั่ง ls -al" src="http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/unix/ls.gif" width=515 border=1>รูปที่ 2

แสดงการใช้คำสั่ง lsจากรูปที่ 2 จะเห็นถึงการแสดงผลของคำสั่ง ls ที่มีพารามิเตอร์ -al คือแสดงผลในแบบยาว รวมถึงไฟล์ซ่อนด้วย ซึ่งจะเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ของไฟล์และมีบางส่วนที่ควรรู้คือคอลัมน์แรก ตัวอักษร 10 ตัวบอกประเภทของไฟล์และบอกถึงสิทธิการใช้งานไฟล์นั้น_ r w x r w x r w x

อักษรตัวแรก บอกประเภทของไฟล์ สัญลักษณ์ที่ควรรู้มี 2 ตัวคือ"-" เป็นไฟล์ทั่วไป"d" เป็นไดเรกทอรี่"l" เป็นลิงค์ไฟล์ (ใช้การเรียกไฟล์ที่ไม่ได้อยู่ในไดเรกทอรี่ที่เราอยู่)อักษร 3

ตัวกลุ่มที่ 1 บอกถึงสิทธิในการใช้ไฟล์นั้นๆของเจ้าของไฟล์หรือผู้สร้างไฟล์ (owner)อักษร 3

ตัวกลุ่มที่ 2 บอกถึงสิทธิในการใช้ไฟล์นั้นๆ ของกลุ่มเจ้าของไฟล์ (group)อักษร 3

ตัวกลุ่มที่ 3 บอกถึงสิทธิในการใช้ไฟล์นั้นๆ ของบุคคลอื่น ๆ (other) โดยที่สัญลักษณ์ของอักษรแต่ละกลุ่มจะเหมือนกันดังนี้

-ตำแหน่งที่ 1 ของกลุ่ม "r" หมายถึงสามารถอ่านได้

-ตำแหน่งที่ 2 ของกลุ่ม "w" หมายถึงสามารถแก้ไขได้

-ตำแหน่งที่ 3 ของกลุ่ม "x" หมายถึงสามารถเอ็กซีคิวต์ได้ (เปิดไฟล์นั้นได้)

คอลัมน์ที่ 2 เป็นหมายเลขบอกถึง ไดเรกทอรี่ย่อยที่อยู่ภายใน ไฟล์ หรือไดเรกทอรี่นั้นๆถ้าเป็นไฟล์คอลัมน์นนั้นจะ เป็นหมายเลข 1 เสมอ คอลัมน์ที่ 3 แสดงชื่อเจ้าของไฟล์ (owner)

คอลัมน์ที่ 4 แสดงชื่อของกลุ่มที่เป็นเจ้าของไฟล์ (group)

คอลัมน์ที่ 5 แสดงขนาดของไฟล์

คอลัมน์ที่ 6 แสดงวันเวลาที่แก้ไขไฟล์ล่าสุดคอลัมน์สุดท้าย แสดงชื่อไฟล์ โดยถ้าเป็นไฟล์ซ่อนจะมี "."(จุด)อยู่หน้าไฟล์นั้น

$ pwd

คือคำสั่งที่ใช้เช็คว่าไดเรกทอรี่ปัจจุบันอยู่ที่ตำแหน่งใดแต่ก่อนที่เราจะมาดูรายละเอียดอื่นเรามารู้จักคำว่าไดเรกทอรี่ กันก่อนดีกว่า ไดเรกทอรี่(directory) เนื่องจากไฟล์โปรแกรม หรือข้อมูลต่าง ๆ มีเป็นจำนวนมากทำให้ยากต่อการค้นหาจึงต้องมี การจัดระบบหมวดหมู่ของไฟล์ เป็นไดเรกทอรี่โดยไดเรกทอรี่ก็เปรียบเสมือน กล่องใบหนึ่งโดยไดเรกทอรี่ราก (root directoty) ก็เปรียบเสมือนกล่องใบใหญ่ที่สุดซึ่งจะสามารถนำกล่องใบเล็กๆซ้อนเข้าไปและนำไฟล์ซึ่งเปรียบเสมือนหนังสือจัดเก็บเป็นหมวด หมู่ภายใน กล่องเล็กๆเหล่านั้น และภายในกล่องเล็กๆนั้นก็อาจจะมีกล่องและหนังสือที่เล็กกว่าอยู่ภายในอีกด้วยเหตุนี้ไฟล์จะถูกจัด ไว้เป็นหมวดหมู่ง่ายต่อการค้นหาทีนี้เมื่อเราต้องการจะหาหนังสือสักเล่มที่อยู่ภายในกล่องนั้นเราก็ต้องรู้ว่าหนังสือเล่มนั้นอยู่ในกล่อง ไหนและกล่องที่ใส่หนังสือนั้นอยู่ภายในกล่องอื่นๆอีกหรือไม่เราเรียกเส้นทางที่อยู่ของแต่ละไฟล์ว่า "พาท" (path)ใช้คำสั่ง pwd" src="http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/unix/pwd.gif" width=273 border=1>รูปที่ 3 แสดงการทำงานของคำสั่ง pwdจากผลลัพธ์ที่ได้จะเห็นได้ว่า user (muntana) อยู่ใน directory ของ cpc ซึ่งเป็น subdirectory ของ home และ directory homeก็จะอยู่ภายใต้ root จะสังเกตว่า เมื่อล็อกอินเข้ามาใหม่ และใช้คำสั่ง pwd จะแสดงพาทที่ตัวเองอยู่ซึ่งไม่ใช่ไดเรกทอรี่ ราก (ไม่เหมือนบนดอสหรือวินโดว์สที่เริ่มจากไดเรกทอรี่ราก) เพราะว่าในระบบยูนิกซ์จะมีโฮมไดเรกทอรี่ (home directoty) ซึ่งกำหนดโดยผู้ดูแลระบบและเราไม่สามารถเปลี่ยนได้ หมายเหตุ เมื่อใช้คำสั่ง ls -a จะปรากฎไฟล์แปลก ๆ ขึ้นมา 2 ตัวคือ "." และ ".."ไฟล์ "." หมายถึงไดเรกทอรี่ที่เราอยู่ปัจจุบัน

ไฟล์ ".." หมายถึงไดเรกทอรี่ที่อยู่ก่อนหน้านี้ 1 ชั้นเช่น ถ้าเราอยู่ที่ตำแหน่ง /home/cpc/muntana

ไฟล์ "." หมายถึง /home/cpc/muntana

ไฟล์ ".." หมายถึง /home/cpc

$ cd

[ชื่อพาท]เป็นการเปลี่ยนไดเรกทอรี่ไป เป็นไดเรกทอรี่ที่ต้องการ โดยในการใช้คำสั่งนี้ต้องคามด้วยชื่อพาท เช่น เมื่อเราอยู่ในพาท /data1/home/cpc/muntana และเมื่อเช็คดูแล้วว่ามีไดเรกทอรี่ชื่อ mail จากนั้นพิมพ์ $ cd mail หมายความว่าเป็นการเข้าไปใน กล่องที่ชื่อ mail จากตำแหน่ง ปัจจุบัน เพราะฉนั้นตอนนี้เราจะอยู่ใน พาท /data1/home/cpc/muntana/mail ซึ่งวิธีที่กล่าวมาเป็น การอ้างอิงสัมพันธ์กับตำแหน่งปัจจุบันแต่เรามีอีกวิธีหนึ่งคือการอ้างอิงโดยตรง ทำได้โดยการพิมพ์ใช้คำสั่ง cd" src="http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/unix/cd.gif" width=282 border=1>รูปที่ 4 แสดงการใช้คำสั่ง cdซึ่งการอ้างอิงแบบนี้มีประโยชน์เมื่อมีการอ้างถึงไดเรกทอรี่ที่ไม่อยู่ติดกันจะสะดวกกว่าในกรณีที่เราต้องการออกจากไดเรกทอรีที่เรา อยู่ไปหนึ่งชั้นให้ใช้คำสั่ง $ cd .. ในกรณีที่เราต้องการกลับไปยังไดเรกทอรี่รากโดยตรงก็ใช้คำสั่ง $ cd /

หมายเหตุ ถ้าใช้คำสั่ง $ cd โดยไม่มีพาทต่อท้ายจะเป็นการกลับมายังโฮมไดเรกทอรี่ที่กล่าวมาเเล้วข้างต้น$ mkdir [ชื่อไดเรกทอรี่]คือคำสั่งที่ใช้ในการสร้างไดเรกทอรี่ใหม่ขึ้น โดยอ้างอิงพาทเช่นเดียวกับคำสั่ง cd เช่น

-$ mkdir test แล้วใช้คำสั่ง ls เพื่อเช็คดูจะพบไดเรกทอรี่ ชื่อ test$ rmdir [ชื่อไดเรกทอรี่]คือการลบไดเรกทอรี่ที่มีอยู่แต่ไดเรกทอรี่ที่ลบจะต้องไม่มีไฟล์หรือไดเรกทอรี่ย่อยอยู่ภายในนั้น

-$ rm [ชื่อไฟล์]คือการลบไฟล์ที่อ้างถึง

-$ cat [ชื่อไฟล์]เป็นการแสดงข้อความในไฟล์ที่เป็นเท็กซ์ไฟล์ (Text Files : ไฟล์ตัวอักษร) แสดงบนจอภาพ

-$ mv [ชื่อไฟล์ต้นทาง] [ชื่อไฟล์ปลายทาง]คือการย้ายไฟล์ (move) จากพาทใดๆที่อ้างอิงถึงไปยังพาทปลายทาง เช่น ถ้าเรามีไฟล์ชื่อ dead.letterอยู่ที่โฮม ไดเรกทอรี่และ เราต้องการย้ายมันไปที่ไดเรกทอรี่ mail ซึ่งอยู่ภายในโฮมไดเรกทอรี่ของเราเอง ทำได้โดยสั่ง $ mv /data1/home/cpc/muntana/temp /data1/home/cpc/muntana/mail หรือ $ mv temp /home/cpc/muntana/mail หรือ $ mv temp mail หรือ $ mv temp ./mail หรือ อาจจะอ้างแบบอื่นตามรูปแบบการอ้างอิงพาทก็ย่อมได้ใช้คำสั่ง mv" src="http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/unix/mv.gif" width=543 border=1>รูปที่ 5 แสดงการใช้คำสั่ง mv$ moreเป็นการแสดงข้อความในไฟล์ทีละหน้าจอแล้วหยุดรอจนกว่าผู้ใช้จะกดคีย์ช่องว่าง (space bar)จึงจะแสดงข้อมูลหน้า ถัดไปหรือกด Enter เพื่อแสดงข้อมูลบรรทัดถัดไปทีละบรรทัด และในขณะที่อยู่ภายในคำสั่ง more จะมีคำสั่งย่อยอีก 2 คำสั่ง คือq ออกจากการทำงานh ขอให้แสดงข้อความช่วยเหลือ (help)$ cp [ชื่อไฟล์ต้นฉบับ] [ชื่อไฟล์สำเนา]เป็นคำสั่งคัดลอก (copy) ข้อมูลจากไฟล์หนึ่ง ไปยังปลายทางที่ต้องการโดยใช้การอ้างอิงพาทลักษณะเดียวกับคำสั่ง mv

การอ้างอิงชื่อไฟล์นอกจากการพิมพ์ชื่อไฟล์เต็มๆ โดยตรงแล้วยังมีการอ้างอิงถึงชื่อไฟล์โดยใช้สัญลักษณ์พิเศษอีก 2 ตัว คือ "*" และ "?"? ใช้อ้างอิงแทนตัวอักษร สัญลักษณ์พิเศษ หรือ ตัวเลขใดๆ 1 ตัวอักษร เช่นเมื่อเราจะอ้างอิงถึงไฟล์ unix ? หมายถึง ไฟล์ทุก ไฟล์ที่ชื่อขึ้นต้นด้วย unix และตามด้วยตัวอะไรก็ได้อีก 1 ตัว อาจจะเป็น unixa unixx unix_ หรือ unix1 เป็นต้น* ใช้อ้างอิงแทนตัวอักษร สัญลักษณ์พิเศษ หรือ ตัวเลขใดๆ กี่ตัวอักษรก็ได้ เช่น เมื่อเรา อ้างอิงถึงไฟล์ unix* จะหมายถึง ไฟล์ทุกไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วย unix โดยจะต่อท้ายด้วยตัวอะไรก็ได้กี่ตัวก็ได้ ซึ่งอาจจะเป็น unix_tue unix1234 เป็นต้น

เราสามารถนำการอ้างอิงชื่อไฟล์ข้างต้นไปใช้กับคำสั่ง ls mv cp rm ได้ เช่นls -al .p* หมายถึง การขอดูรายชื่อไฟล์ทุกไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วย .p (คือเป็นไฟล์ซ่อนที่ขึ้นต้นด้วย p ) cp .pine_debug? . /mail หมายถึง การคัดลอกไฟล์ทุกไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วย .pine_debug และตามด้วยตัวอักษรใดๆ 1 ตัว ไปยังไดเรกทอรี่ mailคำสั่งในการตรวจสอบและติดต่อกับผู้ใช้ที่กำลังอยู่ในระบบ$ who am iเป็นการแสดงข้อมูลการเข้าระบบของตัวเอง

$ whoเป็นการแสดงชื่อผู้ที่ใช้ขณะนี้อยู่ในระบบที่เรากำลังใช้งานอยู่ใช้คำสั่ง who" src="http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/unix/who.gif" width=586 border=1>รูปที่ 6 แสดงการทำงานของคำสั่งในการตรวจสอบผู้ที่กำลังอยู่ในระบบ$ finger [@ชื่อโฮสต์ที่ต้องการทราบ]เป็นคำสั่งแสดงรายชื่อของผู้ใช้ที่ติดต่ออยู่กับโฮสต์ต่างๆ ตามที่ต้องการ เช่นเราต้องการทราบว่าโฮสต์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศษสตร์ที่ชื่อ std มีใครใช้อยู่บ้าง ก็จะใช้คำสั่ง $ finger @std.cpc.ku.ac.th แสดงดังรูปที่ 7ใช้คำสั่ง finger" src="http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/unix/finger.gif" width=632 border=1>รูปที่ 7 แสดงการใช้คำสั่ง finger

จากรูปที่ 7 จากคำสั่ง finger จะแสดงให้เห็นเป็นคอลัมน์ ดังนี้คอลัมน์แรกจะแสดงรายชื่อล็อกอิน (Login Name)คอลัมน์ที่สองจะแสดงชื่อเต็มของบุคคลนั้นคอลัมน์ที่สามจะแสดงถึงพอร์ตที่เครื่องคมพิวเตอร์ติดต่อเข้ามา และถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าบางพอร์ตจะมีเครื่องหมาย * อยู่ข้างหน้าคอลัมน์นี้ซึ่งแสดงว่า บุคคลนั้นไม่รับการติดต่อจากบุคคลอื่นคอลัมน์ที่สี่จะแสดงให้เห็นถึงเวลาที่บุคคลนั้นไม่มีการโต้ตอบกับเครื่องเลย (idle)คอลัมน์ที่ห้าจะแสดงถึงเวลาที่บุคคลนั้นล็อกอิน (login) เข้ามาที่เครื่องนี้คอลัมน์สุดท้ายจะแสดงถึงชื่อเครื่องที่ใช้เชื่อมเข้ามาในระบบ อาจจะล็อกอินเข้ามาจาก Modem หรือจากเครื่องอื่น ๆในกรณีที่ใช้คำสั่ง finger โดยไม่ใส่ชื่อโฮสต์ จะหมายถึง เป็นการขอดูรายชื่อผู้ใช้โฮสต์ที่ผู้ใช้ทำการล็อกอินเข้าไป (คล้ายคำสั่ง who)$ talk [ชื่อแอคเคาท์@ชื่อโฮสต์ที่บุคคลนั้นใช้งานอยู่]เป็นคำสั่งที่ใช้ในการขอสนทนากับบุคคลที่ต้องการแต่มีข้อแม้ว่าบุคคลนั้นจะต้องไม่มีเครื่องหมาย "*" อยู่หน้าคอลัมน์ที่ 3 โดย รูปแบบของการคุย จะแบ่งหน้าจอออกเป็น 2 ส่วน บน ล่าง โดยส่วนบน คือตัวเรา และส่วนล่างคือบุคคลที่เราติดต่อเข้าไปการ ออกจาก talk ทำได้โดยกดปุ่ม Ctrl+C$ write [ชื่อแอคเคาท์)เป็นคำสั่งที่ใช้ในการส่งข้อความไปยังบุคลที่ต้องการแต่บุคคลนั้นต้องใช้งานอยู่ภายในโฮสต์เดียวกัน และไม่มีเครื่องหมาย "*" หน้าคอลัมน์ ที่ 3 จึงจะสามารถส่งข้อความไปได้ เมื่อใช้คำสั่ง write ไปแล้ว เคอร์เซอร์จะขึ้นบรรทัดใหม่จากนั้นก็พิมพ์ข้อความ ที่ต้องการได้ข้อความที่พิมพ์จะถูก ส่งไปหลังการกด Enter การออกจาก write ทำเช่นเดียวกับการออกจาก talk คือ กดปุ่ม Ctrl+C$ mesg [n,y]เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดว่าเราจะรับการติดต่อจากบุคคลอื่นหรือไม่ คือถ้าใช้คำสั่ง$ mesg n จะเป็นการกำหนดให้ตัวเองไม่รับการติดต่อจากบุคคลอื่น คือบุคคลอื่นจะไม่สามารถ talk หรือ write เข้ามาได้ และตัวเองก็จะไม่สามารถ talk หรือ write ไปหา ผู้อื่นได้เช่นกัน (แต่การส่งและรับ mail ยังทำได้ตามปกติ)$ mesg y จะเป็นการกำหนดให้ตัวเองรับการติดต่อจากบุลคลอื่น

วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2551

MOD

Mod 7
มี 3 และ 5 เป็น Q


Mod11
มี 2 , 6 , 7 และ 8 เป็น Q

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ส่งงาน Des

นายสมพงศ์ มนตรีวงศ์
5022252105
วิทยาการคอมพิวเตอร์


I A M B O Y
49 41 4D 42 4F 59

010010/01 , 0100/0001 , 01/001101/ , 010000/10 , 0100/1111 , 01/011001
00 , 9 ,10 00 , A , 2 01 , 2 , 2 01 , 6 , 0 00 , 8 , 8 10 , 2 , 15 11 , E , 3 01 , C , 0
1 1 2 2 1 3 4 2
A 2 0 0 8 F 3 0
1010 0010 0000 0000 1000 1111 0011 0000


ข NUL




ส ม พ ง ศ
C7 BF BC A5 C5 E1

110001/11 , 1011/1111 , 10/111100/ , 101001/01 , 1100/0101 , 11/100001
11 , 8 , 5 11 , D , 5 10 , F , 7 10 , E , 8 11 , 4 , 1 00 , E , 5 01 , B , 12 11 , 0 , 2
4 4 3 3 4 1 2 4
5 5 7 8 1 5 C 2
0101 0101 0111 1000 0001 0101 1100 0010


U x NAK ฤ

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ส่งงาน Des

นายสมพงศ์ มนตรีวงศ์
5022252105
วิทยาการคอมพิวเตอร์

I A M B O Y
49 41 4D 42 4F 59

010010/01 , 0100/0001 , 01/001101/ , 010000/10 , 0100/1111 , 01/011001

00 , 9 ,10 00 , A , 2 01 , 2 , 2 01 , 6 , 0 00 , 8 , 8 10 , 2 , 15 11 , E , 3 01 , C , 0
1 1 2 2 1 3 4 2
A 2 0 0 8 F 3 0
1010 0010 0000 0000 1000 1111 0011 0000


ข NUL




ส ม พ ง ศ
C7 BF BC A5 C5 E1

110001/11 , 1011/1111 , 10/111100/ , 101001/01 , 1100/0101 , 11/100001
11 , 8 , 5 11 , D , 5 10 , F , 7 10 , E , 8 11 , 4 , 1 00 , E , 5 01 , B , 12 11 , 0 , 2
4 4 3 3 4 1 2 4
5 5 7 8 1 5 C 2
0101 0101 0111 1000 0001 0101 1100 0010


U x NAK ฤ

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ส่งงาน VIRUS

ส่งงาน VIRUS
นายสมพงศ์ มนตรีวงศ์
5022252105
วิทยาการคอมพิวเตอร์
Virus
ความหมาย : คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อก่อกวน หรือทำลายระบบ และถูกออกแบบมาให้แพร่กระจายตัวเองจากไฟล์หนึ่งไปยังไฟล์อื่นๆ มักจะมีการแพร่กระจายตัวได้ง่าย รวดเร็วและสามารถหลบซ่อนตัวมันเองได้ แต่ ไวรัสจะไม่สามารถแพร่กระจายจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้ด้วยตัวมันเอง โดยทั่วไปเกิดจากผู้ใช้เป็นพาหะ เช่นเวลาที่ส่ง E-mail โดยแนบไฟล์ที่มีไวรัสไปด้วย, การทำสำเนาไฟล์ที่ติดไวรัสไปไว้บนไฟล์เซิรฟเวอร์, การ copy ไฟล์จากแผ่นดิสก์เก็ตที่มีไวรัส เมื่อผู้ใช้ทั่วไปรับไฟล์ หรือดิสก์มาใช้งาน ไวรัสก็จะแพร่กระจายภายในเครื่อง ไวรัสสำหรับคอมพิวเตอร์ นั้นหมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกเขียนขึ้นมา แต่ไม่ได้มีไว้สำหรับใช้งาน แต่เป็นการก่อนกวน หรือทำลายระบบ ของคอมพิวเตอร์ และสามารถที่จะแพร่กระจายได้ด้วยตัวมันเอง โดยการทำลายและแพร่กระจาย จะถูกกำหนดจากผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้นๆ
virus คือ โปรแกรมที่มีคนเขียนขึ้นเพื่อให้สามารถติดไฟล์อื่นได้ โดยมันจะแอบฝังตัวเอง หรือแทรกโค้ด เข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ส่วนที่มันถูกเรียกว่าไวรัสคอมพิวเตอร์นั้น ก็คือตัวมันไม่สามารถทำการแพร่ไปยังเครื่องคอมพ์เครื่องอื่นได้ ถ้าไม่มีไฟล์พาหะ พูดง่ายๆว่ามันจะไม่ทำงาน ถ้าไม่มีใครไปยุ่ง หรือไปเปิดมันเข้า
worm หรือที่เราเรียกว่าหนอนคอมพิวเตอร์ (worm แปลว่าตัวหนอน) มักจะพบว่ามันมักซ่อนตัวหรือแพร่เชื่อไปตามสายเนต เนื่องจาก อินเตอร์เข้าไปได้ทุกหนแห่ง หรือทุกเครื่องที่มีผู้ใช้เล่นเนตอยู่ ดังนั้น หากเกิดการระบาด Worm จะแพร่ได้รวดเร็วมากกว่าไวรัสมาก มันแตกต่างจากไวรัสตรงที่ มันไม่จำเป็นต้องอาศัยพาหะ ตัวมันเองสามารถทำงานด้วยตัวมันเองได้ทุกที่ ทุกเวลา หรือทุกครั้งที่คุณเล่นเนต เจ้า worm มักอาศัยอีเมล์ หรือช่องโหว่ของ Windows ในการแพร่เชื้อไปยังเครื่องอื่นๆ
Trojun หรือม้าโทรจัน มันแตกต่างจาก virus หรือ worm ตรงที่มันไม่แพร่เชื่อไปยังเครื่องอื่น แต่มันจะเข้าครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการส่งข้อมูล หรือเปิดช่องโหว่ เพื่อให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาใช้งานเครื่องของคุณได้ ทุกครั้งที่คุณเล่นเนต หากคุณมีข้อมูลที่สำคัญในเครื่อง ข้อมูลเหล่านั้นจะไม่เป็นความลับอีกต่อไป เพราะจะมี hacker เข้ามาแอบเปิดดูได้ หรือ อาจจะลบมัน ได้ การติดเชื้อโทรจันเกิดจากการดาวน์โหลดไฟล์แปลกๆที่แอบแฝงโทรจันอยูข้างใน เช่นคุณดาวน์โหลด ไฟล์หนังโป๊ แต่มีโทรจันแถมมาด้วย ดังนั้นการดาวน์ดหลดไฟล์ใดๆในอินเตอร์เนตต้องระวังไว้ด้วย
Spyware หรือ สปายแวร์ ที่มักพบบ่อย คือมันแอบเปิดหน้าต่างเบราเซอร์ ให้เราเอง หรือทำการเชื่มต่อเนตไปยังต่างประเทศเอง เจ้าสปายแวร์ แตกต่างจากไวรัส และ worm ตรงที่มันไม่แพร่เชื่อไปยังเครื่องอื่น มันมักจะฝังตัวกับเบราเซอร์ ที่มักพบบ่อนๆ คือ IE นี่แหละที่มักติด spyware สังเกตุไหม คนที่ติด spyware เวลาเล่นเนต แล้ว มันมักจะไปเปิดเวบโป๊ให้เราเอง หรือเข้าไปยังเวป อื่นๆที่เราไม่ได้เปิด เจ้า spyware มันจะละเมิดความเป็นส่วนตัวของเรามาก และมักสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้
IE phishing เป็นการใช้เทคนิคของอีเมล์ ในการหลอกล่อผู้เล่นเนตให้เปิดอีเมล์ เพื่อทำการโจรกรรมของมูลสำคัญของคุณ ที่มักพบบ่อยๆ คือ บัตรเครดิต ที่ใช้ในการซื้อของในร้านสินค้าออนไลน์
malware คือ ชื่อเรียกรวมของเหล่า Virus , worm ,trojan , spyware, key logger, phishing,.. ถ้าจะขอเรียก malware ให้เป็นภาษาไทย ก็ขอเรียกว่า โปรแกรมไม่พึงประสงค์ คงจะได้นะ malware บางตัว จะผสมทั้ง trojan+virus ซึ่งลูกผสมเช่นนี้ เราจะเรียกว่า hybird
Antivirus Program
ความหมาย : โปรแกรมสำหรับป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือตรวจสอบไวรัสก่อนที่จะทำลายคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่การทำงาน 2 ลักษณะ คือ ระบุชื่อของไวรัสที่รู้จัก และตรวจสอบผลของการทำลายจากไวรัสในแฟ้มต่างๆ
Computer Virus
ความหมาย : โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อก่อกวน หรือทำลายระบบ และมักจะมีการแพร่กระจายตัวได้ง่าย รวดเร็วและสามารถหลบซ่อนตัวมันเองได้ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกเขียนขึ้นมา แต่ไม่ได้มีไว้สำหรับใช้งาน แต่เป็นการก่อนกวน หรือทำลายระบบ ของคอมพิวเตอร์ และสามารถที่จะแพร่กระจายได้ด้วยตัวมันเอง โดยการทำลายและแพร่กระจาย จะถูกกำหนดจากผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น ประเภทของไวรัส
1. บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses) หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์คือ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาครั้งแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็กๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงานการทำงานของบูตเซกเตอร์ไวรัสคือ จะเข้าไปแทนที่โปรแกรมที่อยู่ในบูตเซกเตอร์ โดยทั่วไปแล้วถ้าติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Partition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุกๆครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมา เมื่อมีการเรียกระบบปฏิบัติการจากดิสก์นี้ โปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ถูกโปรแกรมมา ก่อนที่จะให้ระบบปฏิบัติการทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
2. โปรแกรมไวรัส (Program Viruses) หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และไวรัสบางตัวสามาถเข้าไปอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น SYS ได้ด้วยการทำงานของไวรัสประเภทนี้คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติ เมื่อฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลังจากนี้หากมีการเรียกโปรแกรมอื่นๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสจะสำเนาตัวเองเข้าไปในโปรแกรมเหล่านั้นทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป นอกจากนี้ไวรัสประเภทนี้ยังมีวิธีการแพร่ระบาดอีกคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหาโปรแกรมอื่นๆ ที่อยู่ติดเพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้นทำงานตามปกติต่อไป
3. ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดาทั่วๆไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมา ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบายการใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจจุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันคือ เข้าไปทำอันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วงเอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาโดดๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการของผู้ใช้ เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มีม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรม ที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบ สร้างได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบต์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมม้าโทรจันได้
4. โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Viruses) เป็นชื่อที่ใช้เรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเองได้ เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
5. สทิลต์ไวรัส (Stealth Viruses) เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทิสต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิมทุกอย่าง ราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
6. มาโครไวรัส (Macro Viruses) จะติดกับไฟล์ซึ่งใช้เป็นต้นแบบ (template) ในการสร้างเอกสาร (documents หรือ spreadsheet) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสารติดไวรัสแล้ว ทุกๆเอกสารที่เปิดขึ้นใช้ด้วยต้นแบบอันนั้นจะเกิดความเสียหายขึ้น
อาการของเครื่องที่ติดไวรัส
สามารถสังเกตุการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้อาจเป็นไปได้ว่าได้มีไวรัสเข้าไปติดอยู่ในเครื่องแล้ว อาการที่ว่านั้นได้แก่
-ใช้เวลานานผิดปกติในการเรียกโปรแกรมขึ้นมาทำงาน
-ขนาดของโปรแกรมใหญ่ขึ้น
-วันเวลาของโปรแกรมเปลี่ยนไป
-ข้อความที่ปกติไม่ค่อยได้เห็นกลับถูกแสดงขึ้นมาบ่อย ๆ
-เกิดอักษรหรือข้อความประหลาดบนหน้าจอ
-เครื่องส่งเสียงออกทางลำโพงโดยไม่ได้เกิดจากโปรแกรมที่ใช้อยู่
-แป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานเลย
-ขนาดของหน่วยความจำที่เหลือลดน้อยกว่าปกติ โดยหาเหตุผลไม่ได้
-ไฟล์แสดงสถานะการทำงานของดิสก์ติดค้างนานกว่าที่เคยเป็น
-ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยใช้อยู่ ๆ ก็หายไป
-เครื่องทำงานช้าลง -เครื่องบูตตัวเองโดยไม่ได้สั่ง
-ระบบหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
-เซกเตอร์ที่เสียมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยมีการรายงานว่าจำนวนเซกเตอร์ที่เสียมีจำนวน เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยที่ ไม่ได้ใช้โปรแกรมใดเข้าไปตรวจหาเลย
การตรวจหาไวรัส
การสแกน
โปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกน (Scanning) เรียกว่า สแกนเนอร์ (Scanner) โดยจะมีการดึงเอาโปรแกรมบางส่วนของตัวไวรัสมาเก็บไว้เป็นฐานข้อมูล ส่วนที่ดึงมานั้นเราเรียกว่า ไวรัสซิกเนเจอร์ (VirusSignature)และเมื่อสแกนเนอร์ถูกเรียกขึ้นมาทำงานก็จะเข้าตรวจหาไวรัสในหน่วยความจำ บูตเซกเตอร์และไฟล์โดยใช้ ไวรัสซิกเนเจอร์ที่มีอยู่ ข้อดีของวิธีการนี้ก็คือ เราสามารถตรวจสอบซอฟแวร์ที่มาใหม่ได้ทันทีเลยว่าติดไวรัสหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสถูกเรียกขึ้นมาทำงานตั้งแต่เริ่มแรก แต่วิธีนี้มีจุดอ่อนอยู่หลายข้อ คือ
1.ฐานข้อมูลที่เก็บไวรัสซิกเนเจอร์จะต้องทันสมัยอยู่เสมอ แลครอบคลุมไวรัสทุกตัว มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
2.เพราะสแกนเนอร์จะไม่สามารถตรวจจับไวรัสที่ยังไม่มี ซิกเนเจอร์ของไวรัสนั้นเก็บอยู่ในฐานข้อมูลได้
3.ยากที่จะตรวจจับไวรัสประเภทโพลีมอร์ฟิก เนื่องจากไวรัสประเภทนี้เปลี่ยนแปลง ตัวเองได้
4.จึงทำให้ไวรัสซิกเนเจอร์ที่ใช้สามารถนำมาตรวจสอบได้ก่อนที่ไวรัส จะเปลี่ยนตัวเองเท่านั้น
5.ถ้ามีไวรัสประเภทสทีลต์ไวรัสติดอยู่ในเครื่องตัวสแกนเนอร์อาจจะไม่สามารถ ตรวจหาไวรัสนี้ได้
6.ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและเทคนิคที่ใช้ของตัวไวรัสและ ของตัวสแกนเนอร์เองว่าใครเก่งกว่า
7.เนื่องจากไวรัสมีตัวใหม่ ๆ ออกมาอยู่เสมอ ๆ ผู้ใช้จึงจำเป็นจะต้องหาสแกนเนอร์ ตัวที่ใหม่ที่สุดมาใช้
8.มีไวรัสบางตัวจะเข้าไปติดในโปรแกรมทันทีที่โปรแกรมนั้นถูกอ่าน และถ้าสมมติ
9.ว่าสแกนเนอร์ที่ใช้ไม่สามารถตรวจจับได้ และถ้าเครื่องมีไวรัสนี้ติดอยู่ เมื่อมีการ
10.เรียกสแกนเนอร์ขึ้นมาทำงาน สแกนเนอร์จะเข้าไปอ่านโปรแกรมทีละโปรแกรม เพื่อตรวจสอบ
11.ผลก็คือจะทำให้ไวรัสตัวนี้เข้าไปติดอยู่ในโปรแกรมทุกตัวที่ถูก สแกนเนอร์นั้นอ่านได้
12.สแกนเนอร์รายงานผิดพลาดได้ คือ ไวรัสซิกเนเจอร์ที่ใช้บังเอิญไปตรงกับที่มี
13.อยู่ในโปรแกรมธรรมดาที่ไม่ได้ติดไวรัส ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในกรณีที่ไวรัสซิกเนเจอร์ ที่ใช้มีขนาดสั้นไป
14.ก็จะทำให้โปรแกรมดังกล่าวใช้งานไม่ได้อีกต่อไป

การตรวจการเปลี่ยนแปลง
การตรวจการเปลี่ยนแปลง คือ การหาค่าพิเศษอย่างหนึ่งที่เรียกว่า เช็คซัม (Checksum) ซึ่งเกิดจากการนำเอาชุดคำสั่งและ ข้อมูลที่อยู่ในโปรแกรมมาคำนวณ หรืออาจใช้ข้อมูลอื่น ๆ ของไฟล์ ได้แก่ แอตริบิวต์ วันและเวลา เข้ามารวมในการคำนวณด้วย เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งหรือข้อมูลที่อยู่ในโปรแกรม จะถูกแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง
เราจึงสามารถนำเอาตัวเลขเหล่านี้มาผ่านขั้นตอนการคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ ซึ่งวิธีการคำนวณเพื่อหาค่าเช็คซัมนี้มีหลายแบบ และมีระดับการตรวจสอบแตกต่างกันออกไป เมื่อตัวโปรแกรม ภายในเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าไวรัสนั้นจะใช้วิธีการแทรกหรือเขียนทับก็ตาม เลขที่ได้จากการคำนวณครั้งใหม่ จะเปลี่ยนไปจากที่คำนวณได้ก่อนหน้านี้ ข้อดีของการตรวจการเปลี่ยนแปลงก็คือ สามารถตรวจจับไวรัสใหม่ ๆ ได้ และยังมีความสามารถในการตรวจจับไวรัสประเภทโพลีมอร์ฟิกไวรัสได้อีกด้วย แต่ก็ยังยากสำหรับสทีลต์ไวรัส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดของโปรแกรมตรวจหาไวรัสเองด้วยว่าจะสามารถถูกหลอกโดยไวรัสประเภทนี้ได้หรือไม่ และมีวิธีการตรวจการเปลี่ยนแปลงนี้จะตรวจจับไวรัสได้ก็ต่อเมื่อไวรัสได้เข้าไปติดอยู่ในเครื่องแล้วเท่านั้น และค่อนข้างเสี่ยงในกรณีที่เริ่มมีการคำนวณหาค่าเช็คซัมเป็นครั้งแรก เครื่องที่ใช้ต้องแน่ใจว่าบริสุทธิ์พอ คือต้องไม่มีโปรแกรมใด ๆ ติดไวรัส มิฉะนั้นค่าที่หาได้จากการคำนวณที่รวมตัวไวรัสเข้าไปด้วย ซึ่งจะลำบากภายหลังในการที่จะตรวจหาไวรัสตัวนี้ต่อไป
การเฝ้าดู
เพื่อที่จะให้โปรแกรมตรวจจับไวรัสสามารถเฝ้าดูการทำงานของเครื่องได้ตลอดเวลานั้น จึงได้มีโปรแกรมตรวจจับไวรัสที่ถูกสร้งขึ้นมาเป็นโปรแกรมแบบเรซิเดนท์หรือ ดีไวซ์ไดรเวอร์ โดยเทคนิคของการเฝ้าดูนั้นอาจใช้วิธีการสแกนหรือตรวจการเปลี่ยนแปลงหรือสองแบบรวมกันก็ได้ การทำงานโดยทั่วไปก็คือ เมื่อซอฟแวร์ตรวจจับไวรัสที่ใช้วิธีนี้ถูกเรียกขึ้นมาทำงานก็จะเข้าไปตรวจในหน่วยความจำของเครื่องก่อนว่ามีไวรัสติดอยู่หรือไม่โดยใช้ไวรัสซิกเนเจอร์ ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล จากนั้นจึงค่อยนำตัวเองเข้าไปฝังอยู่ในหน่วยความจำ และต่อไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมใดขึ้นมาใช้งาน โปรแกรมเฝ้าดูนี้ก็จะเข้าไปตรวจโปรแกรมนั้นก่อน โดยใช้เทคนิคการสแกนหรือตรวจการเปลี่ยนแปลงเพื่อหาไวรัส ถ้าไม่มีปัญหา ก็จะอนุญาตให้โปรแกรมนั้นขึ้นมาทำงานได้
นอกจากนี้โปรแกรมตรวจจับ ไวรัสบางตัวยังสามารถตรวจสอบขณะที่มีการคัดลอกไฟล์ได้อีกด้วย

ข้อดีของวิธีนี้คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมใดขึ้นมา โปรแกรมนั้นจะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้งโดยอัตโนมัติ ซึ่งถ้าเป็นการใช้สแกนเนอร์ จะสามารถทราบได้ว่าโปรแกรมใดติดไวรัสอยู่ ก็ต่อเมื่อทำการเรียกสแกนเนอร์นั้นขึ้นมาทำงานก่อนเท่านั้น
ข้อเสียของโปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูก็คือ จะมีเวลาที่เสียไปสำหรับการตรวจหาไวรัสก่อนทุกครั้ง และเนื่องจากเป็นโปรแกรมแบบเรซิเดนท์หรือดีไวซ์ไดรเวอร์ จึงจำเป็นจะต้องใช้หน่วยความจำส่วนหนึ่งของเครื่องตลอดเวลาเพื่อทำงาน ทำให้หน่วยความจำในเครื่องเหลือน้อยลง และเช่นเดียวกับสแกนเนอร์ ก็คือ จำเป็นจะต้องมีการปรับปรุง ฐานข้อมูลของไวรัสซิกเนเจอร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
คำแนะนำและการป้องกันไวรัส
-สำรองไฟล์ข้อมูลที่สำคัญ
-เครื่องที่มีฮาร์ดดิสก์ อย่าเรียกดอสจากฟลอปปีดิสก์
-ป้องกันการเขียนให้กับฟลอปปีดิสก์
-อย่าเรียกโปรแกรมที่ติดมากับดิสก์อื่น
-เสาะหาโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใหม่และมากกว่าหนึ่งโปรแกรมจากคนละบริษัท
-เรียกใช้โปรแกรมตรวจหาไวรัสเป็นช่วง ๆ
-เรียกใช้โปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูทุกครั้ง
-คัดลอกซอฟแวร์เฉพาะที่ถูกตรวจสอบแล้วในบีบีเอส
-สำรองข้อมูลที่สำคัญของฮาร์ดดิสก์ไปเก็บในฟลอปปีดิสก์
-เตรียมฟลอปปีดิสก์ที่ไว้สำหรับให้เรียกดอสขึ้นมาทำงานได้
-เมื่อเครื่องติดไวรัส ให้พยายามหาที่มาของไวรัสนั้น

กำจัดไวรัส

เมื่อแน่ใจว่าเครื่องติดไวรัสแล้ว ให้ทำการแก้ไขด้วยความใคร่ครวญและระมัดระวังอย่างมาก เพราะบางครั้งตัวคนแก้เองจะเป็นตัวทำลายมากกว่าตัวไวรัสจริง ๆ เสียอีก การฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ใหม่อีกครั้งก็ไม่ใช่ วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป ยิ่งแย่ไปกว่านั้นถ้าทำไปโดยยังไม่ได้มีการสำรองข้อมูลขึ้นมาก่อน การแก้ไขนั้นถ้าผู้ใช้มีความรู้เกี่ยวกับไวรัสที่ กำลังติดอยู่ว่าเป็นประเภทใดก็จะช่วยได้อย่างมาก และข้อเสนอแนะต่อไปนี้อาจจะมีประโยชน์ต่อท่าน

บูตเครื่องใหม่ทันทีที่ทราบว่าเครื่องติดไวรัส
เมื่อทราบว่าเครื่องติดไวรัส ให้ทำการบูตเครื่องใหม่ทันที โดยเรียกดอสขึ้นมาทำงานจากฟลอปปีดิสก์ที่ได้เตรียมไว้ เพราะถ้าไปเรียกดอสจากฮาร์ดดิสก์ เป็นไปได้ว่า ตัวไวรัสอาจกลับเข้าไปในหน่วยความจำได้อีก
เมื่อเสร็จขั้นตอนการเรียกดอสแล้ว ห้ามเรียกโปรแกรมใด ๆ ก็ตามในดิสก์ที่ติดไวรัส เพราะไม่ทราบว่าโปรแกรมใดบ้างที่มีไวรัสติดอยู่

เรียกโปรแกรมจัดการไวรัสขั้นมาตรวจหาและทำลาย
ให้เรียกโปรแกรมตรวจจับไวรัส เพื่อตรวจสอบดูว่ามีโปรแกรมใดบ้างติดไวรัส ถ้าโปรแกรมตรวจ หาไวรัสที่ใช้อยู่สามารถกำจัดไวรัสตัวที่พบได้ ก็ให้ลองทำดู แต่ก่อนหน้านี้ให้ทำการคัดลอกเพื่อสำรองโปรแกรมที่ติดไวรัสไปเสียก่อน โดยโปรแกรมจัดการไวรัสบางโปรแกรมสามารถสั่งให้ทำสำรองโปรแกรมที่ติดไวรัสไปเป็นอีกชื่อหนึ่งก่อนที่จะกำจัดไวรัส เช่น MSAV ของดอสเอง เป็นต้น การทำสำรองก็เพราะว่า เมื่อไวรัสถูกกำจัดออกจากโปรแกรมไป โปรแกรมนั้นอาจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือทำงานไม่ได้เลยก็เป็นไปได้
วิธีการตรวจขั้นต้นคือ ให้ลอง เปรียบเทียบขนาดของโปรแกรมหลังจากที่ถูกกำจัดไวรัสไปแล้วกับขนาดเดิม ถ้ามีขนาดน้อยกว่า แสดงว่าไม่สำเร็จ หากเป็นเช่นนั้นให้เอาโปรแกรมที่ติดไวรัสที่สำรองไว้ แล้วหาโปรแกรมจัดการ ไวรัสตัวอื่นมาใช้แทน แต่ถ้ามีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับของเดิม เป็นไปได้ว่าการกำจัดไวรัสอาจสำเร็จ โดยอาจลองเรียกโปรแกรมตรวจหาไวรัสเพื่อทดสอบโปรแกรมอีกครั้ง
หากผลการตรวจสอบออกมาว่าปลอดเชื้อ ก็ให้ลองเรียกโปรแกรมที่ถูกกำจัดไวรัสไปนั้นขึ้นมาทดสอบการทำงานดูอย่างละเอียดว่าเป็นปกติดีอยู่หรือไม่อีกครั้ง ในช่วงดังกล่าวควรเก็บโปรแกรมนี้ที่สำรองไปขณะที่ติดไวรัสอยู่ไว้ เผื่อว่าภายหลังพบว่าโปรแกรมทำงานไม่เป็นไปตามปกติ ก็สามารถลองเรียกโปรแกรมจัดการไวรัสตัวอื่นขึ้นมากำจัดต่อไปได้ในภายหลัง แต่ถ้าแน่ใจว่าโปรแกรมทำงานเป็นปกติดี ก็ทำการลบโปรแกรมสำรองที่ยังติดไวรัสติดอยู่ทิ้งไปทันที เป็นการป้องกันไม่ให้มีการเรียกขึ้นมาใช้งานภายหลังเพราะความบังเอิญได้

ส่งงาน Plaintext , Ciphextext

นายสมพงศ์ มนตรีวงศ์
5022252105
วิทยาการคอมพิวเตอร์


ชื่อเล่น JAC
Plaintext J A C

Hex 4A 41 43

Binary 010010/10 , 0100/0001 , 01/000011

18 , 36 , 5 , 3

Encode S , k , F , D


ชื่อ I LOVE YOUS

Plaintext I L O V E Y O U S

Hex 49 4C 5F 56 45 59 5F 55 53

Binary 010010/01 , 0100/1100 , 01/001111/ , 010101/10 , 0100/0101 ,
01/011001/ , 010111/11 , 0101/0101 , 01/010011

18 , 20 , 49 , 15 , 21 , 36 , 21 , 25 , 19 , 53 , 21 , 19

Encode S U x P V k V Z T 1 V T


วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ส่งงาน Registry

นายสมพงศ์ มนตรีวงศ์
5022252105
วิทยาการคอมพิวเตอร์

รีจีสทรี
รีจิสทรี (Registry ) เป็นฐานข้อมูลส่วนกลางในวินโดวส์ที่ทำหน้าที่เก็บรวบรวมและดูแลรักษาข้อมูลที่สำคัญของ ระบบไว้ รีจิสทรีจึง เป็นส่วนประกอบที่น่าสนใจและสำคัญที่สุดของวินโดวส์ โดยรีจิสทรีถือ กำเนิดมาจากแนวความคิดในการจัดเก็บไฟล์ INI ของวินโวส์ 3.1 ซึ่งไฟล์ INI ก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง และ OLE เริ่มมีความซับซ้อน มากขึ้น Microsoft จึงได้สร้างโครงสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อไว้เก็บข้อมูล ที่จำเป็นสำหรับ OLE ในวินโดวส์ 3.1 คือใช้ไฟล์ REG และใช้โปรแกรม Registration Editer ดังนั้นจะเห็นได้ว่ารัจิสทรีได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่่ วินโดวส์ 3.1 และได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจุบันคีย์หลักทั้ง 6 คีย์
รีจิสทรีของวินโดวส์ประกอบด้วยคีย์หลัก 6 คีย์ แต่ละคีย์ทำหน้าที่เก็บข้อมูล แตกต่างกันคือ ข้อมูลของผู้ใช้ ข้อมูล ของเครื่อง ชื่อคีย์หลักแต่ละคีย์จะเริ่ม ต้นด้วย HKEY_ และคีย์หลักแต่ละคีย์จะประกอบด้วยคีย์ย่อยหลายๆคีย์
1. HKEY_CLASSES_ROOT บรรจุข้อมูลทั้งหมดที่ใช้ในวินโดวส์สำหรับ OLE รวมถึงรูปแบบไฟล์และคุณสมบัติต่างๆ (ไอคอนที่แสดงในวินโดวส์ และคำสั่งต่างๆ เช่นการเปิดไฟล์ การพิมพ์ )
2. . HKEY_USERS บรรจุข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน ประกอบด้วยข้อกำหนดดีฟอลท์ สำหรับ Desktop, StartMenu, แอพพลิเคชั่นต่างๆ และส่วนประกอบอื่นๆ เมื่อผู้ใช้ล็อกออนเข้าระบบข้อกำหนดดีฟอลท์จะถูกขัดลอกไปยังคีย์ย่อยอีกคีย์หนึ่งที่ระบุถึงผู้ใช้ จากนั้นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆต่อข้อกำหนดเหล่านั้นจะถูกเก็บไว้ในคีย์ย่อยคีย์นี้
3. . HKEY_CURRENT_USERS คือข้อมูลผู้ใช้ที่ถูกสร้างขึ้นมาจาก HKEY_USERS ระหว่างล็อกออน ดังนั้นข้อมูลทั้งหมดใน HKEY_CURRENT_USERSก็คือข้อมูลอีกชุดหนึ่งของคีย์ย่อย HKEY_USERS นั่นเอง
4. . HKEY_LOCAL_MACHINE ประกอบด้วยข้อมูลของเครื่อง เช่น ไดร์เวอร์, ฮาร์ดแวร์, พอร์ต และพาลามิเตอร์ของซอฟต์แวร์ ข้อมูลเหล่านี้มีผล กระทบกับผู้ใช้ทุกคน ที่ล็อกออนเข้าระบบ
5. . HKEY_CURRENT_CONFIG ประกอบด้วยข้อมุลจำพวก Plug & Play และรายละเอียดฮาร์ดแวร์ปัจจุบันของระบบในกรณีที่มีฮาร์ดแวร์หลาย แบบในเครื่องเดียวกัน ข้อมูลในคีย์นี้จะตรงกับข้อมูลในคีย์ HKEY_LOCAL_MACHINE\Config
6. . HKEY_DYN_DATA ประกอบด้วยข้อมูลล่าสุดของอุปกรณ์ต่างๆทำให้สามารถ ใช้ข้อมูลเหล่านี้ตรวจสอบปัญหาด้านฮาร์ดแวร์, สถานะของอุปกรณ์ แต่ละตัว หรือเปลี่ยนแปลงฮาร์ดแวร์ต่างๆ โดย Device Manager ใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อ แสดงรายละเอียดฮาร์ดแวร์ล่าสุด
Registry ของ Windows 98/Me มี HKEY_..ตามข้างต้น..แต่Registry ของ Windows XP จะมี HKEY_เพียง 5 กลุ่ม คือ
1. . HKEY_CLASSES_ROOT บรรจุข้อมูลทั้งหมดที่ใช้ในวินโดวส์สำหรับ OLE รวมถึงรูปแบบไฟล์และคุณสมบัติต่างๆ (ไอคอนที่แสดงในวินโดวส์ และคำสั่งต่างๆ เช่นการเปิดไฟล์ การพิมพ์ )
2. . HKEY_USERS บรรจุข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน ประกอบด้วยข้อกำหนด ดีฟอลท์ สำหรับ Desktop, StartMenu, แอพพลิเคชั่นต่างๆ และส่วนประกอบ อื่นๆ เมื่อผู้ใช้ล็อกออนเข้าระบบข้อกำหนดดีฟอลท์จะถูกขัดลอกไปยังคีย์ย่อย อีกคีย์หนึ่งที่ระบุถึงผู้ใช้ จากนั้นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆต่อข้อกำหนดเหล่านั้นจะถูกเก็บไว้ในคีย์ย่อยคีย์นี้
3. . HKEY_CURRENT_USERS คือข้อมูลผู้ใช้ที่ถูกสร้างขึ้นมาจาก HKEY_USERS ระหว่างล็อกออน ดังนั้นข้อมูลทั้งหมดใน HKEY_CURRENT_USERSก็คือข้อมูลอีกชุดหนึ่งของคีย์ย่อย HKEY_USERS นั่นเอง
4. . HKEY_LOCAL_MACHINE ประกอบด้วยข้อมูลของเครื่อง เช่น ไดร์เวอร์, ฮาร์ดแวร์, พอร์ต และพาลามิเตอร์ของซอฟต์แวร์ ข้อมูลเหล่านี้มีผล กระทบกับผู้ใช้ทุกคน ที่ล็อกออนเข้าระบบ
5. . HKEY_CURRENT_CONFIG ประกอบด้วยข้อมุลจำพวก Plug & Play และรายละเอียดฮาร์ดแวร์ปัจจุบันของระบบในกรณีที่มีฮาร์ดแวร์หลาย แบบในเครื่องเดียวกัน ข้อมูลในคีย์นี้จะตรงกับข้อมูลในคีย์ HKEY_LOCAL_MACHINE\Config
การใช้ Registry Editor
Registry Editor คือเครื่องมือที่ใช้แสดงผลและแก้ไขข้อมูลรีจิสทรี โดยหลังจากติดตั้งวินโดวส์แล้วเราจะไม่พบ Registry Editor ในสตาร์ท เมนู แต่โปรแกรม setup จะก็อปไฟล์REGEDIT.EXE ไว้ในโฟลเดอร์วินโดวส์ ที่เป็นเช่นนี้เพื่อป้องกันผู้ใช้มือใหม่ที่ยังไม่มีความชำนาญเพียงพอ เข้าไปแก้ไขรีจิสทรีซึ่งอาจทำให้ระบบเสียหาย การเรียกใช้ Registry Editor ได้โดยไปที่เมนู RUN แล้วพิมพ์ regedit แล้วกด OK
Registry Editor จัดการข้อมูลเป็น 3 แบบ
String ข้อมูลแบบข้อความจะถูกเก็บไว้เป็นตัวอักษร ค่าของข้อมูลแบบนี้จะอยู่ใน เครื่องหมายคำพูด สำหรับสตริงว่างเปล่าจะแสดงเป็น "" Brinary ข้อมูลแบบเลขฐาน สองแสดงในลักษณะข้อมูลเลขฐานสิบหก โดยใช้เลข 0 ถึง 9 และตัวอักษร a ถึง f ถ้าไม่มีข้อมูลจะแสดงเป็นข้อความ (zero-length binary value) DWORD ข้อมูลเลขฐานสองแบบพิเศษ ซึ่งแสดงค่าออกมาเป็นเลขฐานสิบหก และฐานสิบในรูปแบบ 0x00000000(0) โดยค่าแรกเป็นเลขฐานสิบหก (0x00000000) และค่าในวงเล็บ (0) เป็นเลขฐานสิบ
การแก้ไขค่าใน Registry Editor
เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ เราต้องเลือกคีย์ที่ต้อง การเพื่อแสดงค่าของคีย์นั้นในช่องทางขวาแล้วเริ่มแก้ไขโดยวิธีใดวิธีหนิ่งดังต่อไปนี้ ดับเบิลคลิกที่ชื่อข้อมูลคลิกที่ชื่อข้อมูล และใช้คำสั่ง Modify ในเมนู Edit คลิกขวาที่ชื่อข้อมูลแล้วเลือกคำสั่ง Modifyจากนั้น Rgistry Editor จะเปิดไดอะล็อคบ็อกซ์ที่แสดงชื่อและค่าของข้อมูล ข้อมูลที่ปรากฎ จะขึ้นอยู่กับแบบข้อมุลที่กำลังแก้ไขอยู่
การแก้ไขค่า String
เมื่อเราต้องการเปลี่ยนค่าใหม่ให้พิมพ์เข้าไปที่ช่อง Value data แล้วคลิก OK ค่าใหม่จะถูกเก็บเข้าไปในรีจิสทรีทันที แม้ว่าเราจะเห็นข้อความในคีย์ แสดงอยู่ใน เครื่องหมายคำพูด แต่เวลาระบุข้อมูลใหม่เข้าไปไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมายคำพูดนี้ เพราะเครื่องหมายนี้ Registry Editor ใช้เพื่อแสดงว่าเป็นข้อมูลแบบข้อความ
การแก้ไขค่า BrinaryRegistry Editor
จะเปิด Edit Binary Value ดังแสดงในรูป ช่อง Value data แสดงข้อมูลในรูปเลขฐานสิบหก โดยเลขสี่ตัวแรกทางด้านขวาระบุถึง ตำแหน่งข้อมูล และถัดมาเป็นตัวข้อมูล ซึ่งแสดงเป็นชุดข้อมูลแบบไบท์ (เลขฐานสิบหก) เมื่อต้องการแก้ไขข้อมูลที่มีอยู่ให้เลื่อกข้อมูลที่ต้อง การแล้วระบุค่าใหม่ลงไปจากนั้นคลิก OK
การแก้ไขค่า DWORD
เมื่อเราเลือกแก้ไขค่า DWORD โปรแกรม Registry Editor จะเปิด Edit DWORD Value ดังในรูป จากนั้น เราสามารถปรับเลี่ยนค่าหรือ ระบุค่าเป็นเลขฐานสิบหกหรือฐานสิบตามออปชั่น Base คือ เลือก Hexadecimal เพื่อระบุค่าเลขฐานสิบหก เลือก Decimal เพื่อระบุค่าเลขฐานสิบ เสร็จเรียบร้อย คลิก OK

การเพิ่มคีย์ใหม่ใน Registry Editor
ถ้าหากต้องการเพิ่มค่าใหม่เข้าไปจะต้องระบุชื่อข้อมูลและค่าของมันด้วย เมื่อต้องการแทรกข้อมูลใหม่เข้าไปใน รีจิสทรีทำดังต่อไปนี้ คลิกขวาที่คีย์ที่ต้องการ หรือคลิกขวาในช่องด้านขวาเพื่อแสดงเมนู เลือก NEW แล้วเลือกคำสั่งใดคำสั่งหนึ่งต่อไปนี้ Key, String Value, Binary Value หรือ DWORD Valueถ้าเลือกคำสั่ง Key โปรแกรม Registry Editor จะเพิ่มคีย์ย่อยชื่อ New Key ในช่องด้านซ้าย แต่ถ้าเลือก Key, String Value, Binary Value หรือ DWORD Value จะสร้างข้อมูลใหม่ชื่อ New Value ในช่องด้านขวา จากนั้นให้เปลี่ยนชื่อตามต้องการ
การลบข้อมูลใน Registry Editor
เราสามารถใช้ Registry Editor เพื่อลบคีย์ และค่าต่างๆ ได้เมื่อต้องการลบทำดังต่อไปนี้ลบทั้งคีย์ ให้คลิกขวาที่คีย์ในช่องด้าน ซ้าย แล้วเลือก Delete ลบค่าต่างๆที่อยู่ในคีย์ ให้คลิกขวาที่ค่านั้นๆใน ช่องด้านขวา แล้วเลือก Deleteข้อควรระวังคือ ใน Registry Editor ไม่มีฟังก์ชั่น Undo เราจึงไม่สามารถเรียกคืนข้อมูล กลับมาได้ ถ้าหากเผลอลบข้อมูลออกไป
เทคนิคการปรับแต่ง Registry
โชว์ Background แบบเต็มๆด้วยการซ่อน Desktop
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่[HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDesktop ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart
เครื่องซ่อนหน้า Background Setting
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispBackgroundPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
ซ่อนหน้า Appearance Setting
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispAppearancePage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
ซ่อนหน้า Display Setting
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispSettingsPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
ซ่อนหน้า Screensaver Setting
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่าNoDispScrSavPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
ซ่อน Device Managerเรียก
Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDevMgrPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
ซ่อน Drive ไม่ให้คนอื่นเห็น
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDrives ให้ Double Click ขึ้นมา เลือกใส่ค่าแบบ Decimal แล้วใส่ค่า Value Data เป็นค่าตัวเลขตาม Drive ที่ต้องการให้ซ่อนดังนี้หากต้องการซ่อนหลายไดรว์พร้อมกัน ก็นำค่าของแต่ละไดรว์มาบวกกัน เช่น ต้องการซ่อนไดรว์ A: D: และ F: ก็ใส่ค่าเท่ากับ 41 เป็นต้น หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก และ Restart เครื่อง
ซ่อนไอคอน Network Neighbourhood
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoNetHood ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
กันไว้ไม่ให้ใครมาเพิ่ม Printer
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่[HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoAddPrinter ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
กันไว้ไม่ให้ใครมาลบ Printer
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDeletePrinter ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
ซ่อน My Pictures ตรง Start Menu
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoSMMyPictures ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
ลบลูกศรที่ Shortcut
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CLASSES_ROOT\lnkfile] คลิก Name ที่ชื่อว่า IsShortcut แล้วกดปุ่ม Delete เพื่อลบออกไป หรือ Double Click แล้วใส่ค่าเป็น Noแสดงไฟล์ Operating System ที่ซ่อนอยู่เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer\Advanced] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า ShowSuperHidden ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
สรุป Command Line
คลิกขวาในพื้นที่ว่างๆบน Desktop ของคุณ หรือพื้นที่บริเวณว่างๆตรง Background ของคุณนั่นเอง และเลือกที่ New >> Shortcut ในช่อง Command line: ให้คุณเลือกข้อความจากด้านล่างนี้ไปใส่ตาม Shortcut ที่คุณต้องการจะสร้างC:\WINDOWS\RUNDLL32.EXEC:\WINDOWS\SYSTEM\USER.EXE,ExitWindows
(สำหรับการสั่ง Shutdown)
C:\WINDOWS\RUNDLL32.EXE C:\WINDOWS\SYSTEM\SHELL32.DLL,SHExitWindowsEx 2 (สำหรับการสั่ง Restart)C:\WINDOWS\RUNDLL32.EXE C:\WINDOWS\SYSTEM\SHELL32.DLL,SHExitWindowsEx 0 (สำหรับการสั่ง Logoff)สำหรับ Win Xpคลิกขาวบน Desktop เลือก New >> Shortcut จากนั้นพิมพ์ shutdown.exe -s -t 00 (สำหรับการสั่ง Shutdown)shutdown.exe -r -t 00 (สำหรับการสั่ง Restart)shutdown.exe -l -t 00 (สำหรับการสั่ง Logoff)
Shortcut เดียว เปิดหลายโปรแกรม
ให้เปิด Notepad ขึ้นมาค้างเอาไว้ก่อน ต่อจากนั้นไป Copy ส่วนของ Target ของ Shortcut แต่ละตัวเข้ามาไว้ใน Notepad นี้ โดยวิธีการเข้าไป Copy Target ก็คือ ให้คลิกขวาที่ Shortcut ของโปรแกรมที่ต้องการจะให้มีการเปิด แล้วเลือก Properties และที่หัวข้อ Shortcut ก็จะพบกับส่วนของ Target: ให้ทำการ Copy ข้อความในส่วนนี้มาทั้งหมดเมื่อ Copy ได้เรียบร้อยแล้ว ให้กด Cancel ไป จากนั้นกลับมาที่ Notepad แล้วทำการวางข้อความ Target ที่ได้ Copy มาเอาไว้ใน Notepadข้อควรระวังในจุดนี้ก็คือ1. เวลานำมาวางใน Notepad ต้องเว้นบรรทัดในแต่ละ Target ด้วย มิเช่นนั้นจะถือว่าผิด2. ห้ามลบเครื่องหมายฟังหนู (") ออก ให้คุณใส่เอาไว้เช่นนั้น มิเช่นนั้นจะถือว่าผิดจากนั้นเมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้ Save ข้อมูลต่างๆใน Notepad ตัวนี้เป็น Batch File ซึ่งวิธีการ Save เป็น Batch File ก็คือ ให้ Save ไฟล์นี้ให้มีนามสกุลเป็น .bat นั่นเอง โดยจะใช้ชื่อว่าอะไรก็ได้ สำหรับในตัวอย่างนี้ จะ Save เป็นไฟล์ชื่อว่า Test.bat โดยที่ระหว่าง Save ให้กำหนด Save as type: เป็น All Files (*.*) ด้วย มิเช่นนั้นชื่อไฟล์อาจจะมี .txt ต่อท้ายด้วย ก็จะทำให้ผิด และไฟล์ๆนี้สามารถ Save ไว้ที่ Directory ไหนภายในเครื่องก็ได้
วิธีการทำให้สามารถคลิก Mouse ขวาได้ใน Web Site ที่มีการป้องกัน
ซึ่งจะเป็นการปิด Active Scripting ไม่ให้ทำงานนั่นเอง แต่การปิด Active Scripting ควรปิดชั่วคราว ไม่ควรปิดไว้ตลอด เพราะว่าพวก Script ต่างๆในแต่ละ Web Site นั้น บาง Script ก็มีประโยชน์ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ แต่บาง Script ก็ไม่มีประโยชน์ มีแต่ความน่ารำคาญ เพราะว่าถ้าปิดไม่ให้พวก Script ที่มีประโยชน์ทำงานนั้น มันก็จะกลายเป็นเรื่องไม่ดีไป บางทีอาจจะใช้งานสิ่งต่างๆใน Web Site ของเขาไม่ได้ไปเลยก็มี
วิธีการปิด Active Scripting
ทำได้โดยคลิกไปที่เมนู Tools >> Internet Options จากนั้นจะพบกับหน้าต่าง Internet Properties ซึ่งที่หน้าต่างนี้ ให้คลิกเลือกไปที่หัวข้อ Security และคลิกที่ Internet หนึ่งครั้ง และกดปุ่ม Custom Level. คราวนี้จะพบกับหน้าต่าง Security Settings เลื่อนลงมาที่ส่วนของ Scripting >> Active scripting และเลือกให้เป็น Disable แล้วกด OK และตอบ Yes ไปจนเสร็จ จำเป็นที่จะต้องกด Refresh หน้าเว็บนั้นๆด้วย และลองคลิก Mouse ขวาดู ก็จะเห็นว่าคราวนี้สามารถคลิกได้แล้ว
วิธี Download เพลง, หนังที่ปกติจะให้เปิดเล่นแบบ Online
วิธีการโหลดเพลงที่ปกติจะให้เล่นแบบ Online ผ่าน Real Player มาเก็บไว้ที่เครื่องเลยนั้น สามารถทำได้โดย เริ่มต้นให้คลิกขวาตรง Link ใน Web ที่เอาไฟล์สำหรับเปิดเพลงนั้นๆ เลือกไปที่ Save Target As... และรอสักครู่ ต่อจากนั้นก็จะมีหน้าต่าง Save As ปรากฏขึ้นมา ให้ทำการ Save (ในขั้นตอนนี้จะได้ไฟล์ที่ 1 ชื่อ music8569.ram) และเมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ Notepad เปิดเจ้าไฟล์ๆนี้ขึ้นมาทันที ซึ่งหากไม่มีอะไรผิดพลาด ภายในไฟล์จะต้องเป็น URL ซึ่งอาจจะมีหลายๆ URL ก็เป็นไปได้ (หากภายในไฟล์ไม่มี URL แสดงว่า Link ที่ทำการคลิกขวาในข้อ 1 นั้นยังไม่ได้เป็น Link สุดท้าย) จะเห็นว่าไฟล์ที่ได้ทำการ Save Target As... มาเก็บไว้ที่เครื่องในตอนแรกนั้น มันจะบรรจุ URL จริงๆของไฟล์เพลง และคราวนี้เมื่อทราบ URL จริงๆของไฟล์เพลงนั้นแล้ว ก็สามารถทำการ Download ได้ (จะใช้โปรแกรมช่วยดาวน์โหลดก็ได้)
วิธีการเพิ่มความเร็วให้กับ Start Menu
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Control Panel\Desktop] ต่อจากนั้นคลิกขวาที่ Folder ชื่อ Desktop นี้แล้วเลือก New >> String Value และให้เปลี่ยนชื่อเป็น MenuShowDelay เรียบร้อยแล้ว คลิกขวาแล้วเลือก Modify ที่ช่อง Value Data ให้คุณใส่เลข 1 ลงไป จากนั้นกด OK เรียบร้อยแล้ว Restart เครื่องใหม่
วิธีการสร้าง Control Panel ขึ้นมาเป็นของตัวเอง
เปิดหน้าต่าง Control Panel ปกติขึ้นมาค้างไว้ก่อน สร้าง Folder ขึ้นมาใหม่ โดยให้ไปที่ File >> New >> Folder และให้คลิกที่ Folder ที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ให้เปิดออกมา พร้อมกับเอาเจ้าหน้าต่าง Control Panel จริงๆที่เปิดเอาไว้มาวางใกล้ๆ จากนั้นให้ลากเครื่องมือที่ต้องการจากใน Control Panel จริงๆนั้นมาใส่และตอบ Yes ได้เลย ซึ่งตรงนี้อยากได้เครื่องมืออะไรก็สามารถลากเข้ามาได้เลย ซึ่งเครื่องมือต่างๆที่ได้ลากเข้ามานี้ จะมีข้อความนำหน้าชื่อว่า Shortcut to ซึ่งสามารถเปลี่ยนมันเป็นชื่ออะไรก็ได้
วิธีการทำ Start Menu ให้มี List ในแนวนอน
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer\Advanced] คลิกขวา เลือก New >> String Value แล้วตั้งชื่อว่า StartMenuScrollPrograms ให้ Double Click ขึ้นมาแล้วใส่ค่า Value Data เป็น False หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก
ท่านใดที่กลับมาใช้ Office97 แล้วมีปัญหากับ
ท่านใดที่เคยลง Office 2000 และรู้สึกคุ้นเคยหรืออะไรก็แล้วแต่ ทำให้ต้องการกลับมาติดตั้ง Office 97 แทน ซึ่งการกระทำเช่นนี้ จะทำให้มีปัญหากับโปรแกรม Access 97 แน่นอน (แต่โปรแกรมอื่นๆสามารถใช้ได้ปกติ) คือจะมีข้อความว่า "Microsoft Access ไม่สามารถเริ่มต้นการทำงาน เนื่องจากไม่มีใบอนุญาต (License) สำหรับมันในเครื่องนี้"วิธีแก้ไขให้ทำดังนี้ คือว่าให้ค้นหาไฟล์ที่ชื่อ hatten.ttf จากเครื่อง ซึ่งปกติไฟล์นี้จะอยู่ที่ C:\WINDOWS\FONTS นั่นเอง จากนั้นลบไฟล์นี้ทิ้ง ต่อจากนั้นให้ทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office 97 ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง และเพื่อความแน่นอน ก็น่าจะ Restart เครื่องด้วย คราวนี้ก็จะสามารถกลับมาใช้ Access 97 ได้อย่างไม่มีปัญหาแล้ว
วิธีการลงทะเบียนชื่อ ใน IRC อย่างถาวร
ขั้นแรกให้ใช้ Pirch Login และทำการ Connect เข้ามาให้เรียบร้อยก่อน วิธีในการลงทะเบียนคือ ให้พิมพ์คำว่า /msg nickserv register E-Mail แต่ตอนลงทะเบียน คุณต้องใช้ชื่อที่เราต้องการลงทะเบียนก่อน ถ้าเกิดว่ายังเป็น Guest????? อยู่ ก็ให้ทำการเปลี่ยนชื่อก่อน โดยพิมพ์ว่า /nick และตามด้วยชื่อที่ต้องการ จากในตัวอย่างนี้ ต้องการที่จะลงทะเบียนชื่อ TestRegister เอาไว้ โดยใช้ Password ว่า Test และ E-Mail คือ test@yahoo.com ก็ต้องเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น TestRegister ให้ได้ก่อน แล้วพิมพ์คำว่า /msg nickserv register test@yahoo.com และกด Enter ได้เลย และเมื่อทุกอย่างไม่มีอะไรผิดพลาด จะมีข้อความขึ้นมาว่า [NickServ] : The nickname TestRegister has now been registered to you. นั่นก็หมายความว่า ทำการจองชื่อ TestRegister เอาไว้ได้เรียบร้อยแล้ววิธีการต่อไปก็คือให้คุณทำการ Set Kill On โดยให้พิมพ์ว่า /msg nickserv set kill on จากนั้นกดปุ่ม Enter จะมีข้อความขึ้นมาว่า [NickServ] : Nickname Protection has been enabled for the nickname TestRegister ซึ่งก็หมายถึงว่า ชื่อของคุณนั้นถูกทำการ Protection เอาไว้เรียบร้อยแล้ววิธีในการยืนยันว่าชื่อเป็นของเรา เมื่อคุณเข้า IRC มาใหม่ หลังจากที่คุณทำการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว และทำการ Set Kill On แล้วด้วย หากคุณหรือใครๆใช้ชื่อหรือ Nickname ว่า TestRegister เข้า IRC มาในครั้งต่อไป จะมีข้อความขึ้นมาว่า [NickServ] : This nickname is owned by someone else. Please choose another. [NickServ] : If this is your nickname, please use /NickServ IDENTIFY [NickServ] : You have 60 seconds to comply before your nickname is changed.ก็คือว่า ต้องทำการยืนยันชื่อภายใน 60 seconds โดยพิมพ์ว่า /msg nickserv identify อย่างในตัวอย่างนี้ ก็ต้องพิมพ์คำว่า /msg nickserv identify ก็เพราะว่า Password คือ test นั่นเอง และเมื่อกด Enter ก็จะมีข้อความ [NickServ] : Password accepted for the nick TestRegisterข้อแตกต่างของการตั้ง Set Kill On กับไม่ได้ Setถ้าไม่ได้ Set Kill On ไว้ เมื่อมีคนมาใช้ชื่อเรา เค้าก็จะใช้ชื่อเราได้จนกว่าเราจะมาทำการ Kill ชื่อ โดยการใส่คำสั่ง /ns ghost แต่ถ้าเรา Set Kill On ไว้ คนอื่นที่ใช้ชื่อของเรานั้น จะถูกเปลี่ยนชื่อภายใน 60 วินาทีสำหรับเทคนิคนี้ จะใช้กับ Server irc.webmaster.com ถ้าเป็น Microsoft irc.au.ac.th (server abac) ก็เปลี่ยนคำสั่งนิดหน่อย พิมพ์ว่า /msg nickserv register ไม่ต้องใส่ E-Mail แต่การยืนยันชื่อเหมือนกันกับ irc.webmaster.com เช่นเดิม
การแก้ปัญหาลืม Password ใน WinRoute
วิธีการแก้ไขก็คือ ให้คลิกขวาที่ Icon ของ WinRoute ตรงมุมขวาล่างของหน้าจอ และเลือกไปที่ Stop WinRoute Engine จากนั้นจะเห็นว่า Icon ของ WinRoute จะเปลี่ยนไปเป็นสถานะที่มีเครื่องหมายลบสีแดงทับอยู่ ต่อจากนั้นให้เปิด Regedit และไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Kerio\WinRoute\User\0] ซึ่งเมื่อพบแล้ว ให้ลบคีย์ 0 นี้ทิ้ง จากนั้นให้คลิกที่คีย์ User และไปที่เมนู Registry >> Export Registry File เพื่อทำการ Export เก็บเป็น Registry File เอาไว้ต่อไปให้คุณย้อนขึ้นไปคลิกที่คีย์ชื่อ WinRoute และฝั่งขวาให้มองหา AdminUserAdded เมื่อพบแล้ว ให้ดับเบิลคลิกมันขึ้นมา แล้วแก้ Value Data เป็น 0 และกด OK คราวนี้ให้คุณทำการ Start The WinRoute Engine แล้วทำการดับเบิลคลิกที่ Icon ของ WinRoute ตรงมุมขวาล่างของหน้าจอขึ้นมา เพื่อทำการ Login โดยที่ช่อง Username นั้นก็ใส่คำว่า Admin เอาไว้เหมือนเดิม ส่วนช่อง Password ปล่อยเป็นว่างๆเอาไว้ ไม่ต้องใส่อะไร และกดปุ่ม OK ได้เลย ซึ่งหลังจากกด OK ก็จะเห็นได้ว่า สามารถทำการ Login เข้าไปใช้งาน WinRoute ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องใส่ Password แต่อย่างใดแต่ยังไม่จบเพียงเท่านี้ คราวนี้จำเป็นที่จะต้องทำการ Stop The WinRoute Engine อีกครั้ง จากนั้นไฟล์ที่เรา Export เอาไว้ ให้ดับเบิลคลิกมันและตอบ Yes และ OK ได้ทันที เรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็ให้ทำการ Start The WinRoute Engine อีกครั้ง ใช้งานได้ตามปกติ และก็จะสามารถเข้าไปใช้งาน WinRoute ในส่วนของ Admin ได้แล้ว แต่ยังไงก็อย่าลืมเข้าไปเปลี่ยนหรือกำหนด Password ต่างๆใหม่ด้วย ที่เมนู Settings >> Accounts แล้วทีนี้ก็จำไว้ดีๆ อย่าลืมอีก
ปรับขนาดซิสเต็มรีสโตร์
สามารถแก้ไขได้โดยเปิด Regedit และไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\StateMgr\Cfg\ReservedDiskSpace] และที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion CurrentVersion\ReservedDiskSpace] จากนั้นเปลี่ยนค่า Max และ Min เป็นค่าที่ต้องการโดยใช้ชนิดของข้อมูลแบบ DWORD
ปรับค่าคอนฟิคในการต่อเน็ตให้ดีที่สุด
ถ้าจะปรับแต่งค่าการรับข้อมูลของ RcvWindow และ DefaultTTL ให้ดีที่สุด ให้เปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\System\CurrentControlSet\Services\VxD\MSTCP] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า DefaultRcvWindow ชนิด String Value เป็น 4288 และลองหาหรือเพิ่มค่า DefaultTTL ชนิด String Value เป็น 128 จากนั้น Save แล้วออกจากโปรแกรมแล้ว Restart ใหม่
ปรับค่าเดียลอัพให้ดีที่สุด
ถ้าจะปรับแต่งค่าการรับข้อมูลของ Dialup ให้ดีที่สุด เพราะค่าของวินโดวส์ที่กำหดให้มานั้นไม่เหมาะสม ให้เปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\System\CurrentControlSet\Services\Class\NetTrans] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า MaxMTU ชนิด String Value เป็น 576 และลองหาหรือเพิ่มค่า MaxMSS ชนิด String Value เป็น 536 จากนั้น Save แล้วออกจากโปรแกรมแล้ว Restart ใหม่
เพิ่มค่าเซสชั่นในการเชื่อมต่อให้มากขึ้น
ในวินโดวส์นั้นกำหนดค่าสูงสุดของ HTTP Sessions ไว้จำกัดสำหรับ HTTP 1.0 เป็น 4 ซึ่งทำให้ควรเปิดหน้าต่างอินเตอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์ได้สูงสุด 4 หน้าต่าง แต่ถ้าใช้ HTTP 1.1 นั้นเป็น 2 ซึ่งยิ่งน้อยไปใหญ่ ถ้าคุณจะเพิ่มค่าก็ทำได้โดยเปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Internet Settings] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า MaxConnectionsPerServer (สำหรับ 1.1) และ MaxConnectionsPer1_0Server (สำหรับ 1.0) เป็นค่าแบบ DWORD Value แล้วกำหนดค่าเป็น 8 ทั้งสองตัวก็ได้
ปรับแต่งรีจีสเตอร์ให้ใช้บล็อคไฟล์ที่มีขนาดดีที่สุด
ถ้าจะปรับแต่งค่าของขนาดของไฟล์ในแต่ละบล็อคที่ดีที่สุด เพราะค่าของวินโดวส์ที่กำหดให้มานั้นไม่เหมาะสม ให้เปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SYSTEM\CurrentControlSet\Control\FileSystem] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า ContigFileAllocSize ชนิด DWORD Value เป็น 512 สำหรับค่าแบบ Decimal หรือเป็น 200 สำหรับค่าแบบ Hex
เพิ่มแคชในการรีเฟรชหน้าจอ
เปิด Regedit [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer] ใส่ค่าสตริงใหม่ลงที่หน้าต่างด้านซ้าย โดยเลือก Edit >> New >> String Value หรือแก้ไขค่า Max Cached Icons กำหนดค่าเป็น 819
เพิ่มประสิทธิภาพดิสก์แคชแบบแมพแค
ปกติวินโดว์ส 98 จะใช้ส่วนของหน่วยความจำเป็นดิสก์แคช เพื่อเพิ่มความเร็วประสิทธิภาพกับระบบที่มีเมมโมรีมากกว่า 64 MB ของหน่วยความจำ โชคร้ายที่หน่วยความจำทั้งหมดที่ไม่ใช้สำหรับแอปพลิเคชั่น และซึ่งหมายถึงหน่วยความจำของจะน้อยกว่า 64 MB ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และหน่วยความจำจะเชื่องช้า ถ้ามีโปรแกรมมากกว่าหนึ่งในการใช้ในคราวเดียว โชคดีที่สามารถระงับความสามารถอย่างนี้โดยการแก้ไขรีจีสเตอร์วินโดว์ส ใช้ Regedit จากนั้นให้ไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\System\CurrentControlSet\Services\VxD\VMM] คลิกขวาพื้นที่ว่างเปล่าในด้านขวาของวินโดว์ส และเลือก New แล้วเลือกเป็น Binary Value ใส่ MapCache และกด Enter โดยไม่ต้องใส่ค่าใดๆ
ลบค่าเก่าในคำสั่ง Find ทิ้ง
เราสามารถลบค่าเก่าใน Find ได้โดยการเปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Internet Explorer\Explorer Bars\{C4EE31F3-4768-11D2-BE5C-00A0C9A83DA1}\FilesNamedMRU] ในหน้าต่างด้านขวา ให้ลบค่าที่ไม่ต้องการออก
ลบค่าเก่าๆในคำสั่ง Run ทิ้ง
เปิด Regedit ไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer\RunMRU] ที่หน้าต่างด้านขวา ลบค่าที่ไม่ต้องการออก
ลบค่าใน Address Bar เฉพาะค่าที่ต้องการไม่ลบทั้งหมด
การลบโดยปราศจากการเคลียร์ History ทั้งหมด
เปิด Regedit ไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Internet Explorer\TypedURLs] และลบค่าที่ไม่ต้องการออก
เอา Task Scheduler ออก
Task Scheduler ถูกติดตั้งโดยอัตโนมัติในบางเวอร์ชั่นของวินโดว์ส และยังมีเมื่อติดตั้งอินเตอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์ สามารถที่จะลบมันออกจากระบบดังนี้เปิด Regedit ไปที่[HKEY_LOCAL_MACHINE\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\RunServices] ที่ค่า SchedulingAgent กำหนดเป็น mstask.exe เพียงลบค่าดังกล่าวออกไปเท่านั้น
เมื่อWindows Update ไม่สำเร็จควรทำอย่าไร
วินโดวส์ ME อาจจะมีปัญหาขณะใช้ Windows Update เครื่องอาจจะค้างขณะดาว์นโหลดหรือติดตั้งมัน และบังคับให้รีสตาร์ทเครื่องใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ทราบว่าอัพเดทเรียบร้อยดีหรือยัง แต่ไม่เป็นไร ใน Windows Update ได้สร้างค่าชุดของคอนฟิคไฟล์เรียกว่า OEMx.INF สร้างขึ้นโดยอินเตอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์โดยบันทึกเซกชั่นต่างๆไว้ ให้ลบไฟล์ OEMx.INF ต่างๆนี้ทิ้งไป โดยไปที่ Start >> Find Files or Folders แล้วพิมพ์ OEM*.INF ช่องชื่อไฟล์ในไดเรกทอรี่ \Windows\Inf เมื่อค้นหาหมดแล้ว ขยายหน้าต่างให้เต็มจอ หาไฟล์ INF ที่มีขนาด 0 ไบต์ แล้วลบออกให้หมด
เพิ่มความเร็วของ Register
เมื่อใช้วินโดวส์ไปแล้วรู้สึกช้าจากรีจีสตรี้ ให้ลองปรับแต่งรีจีสตรี้ด้วยตัวเอง โดยเปิดดอสพร้อมขึ้นมา แล้วพิมพ์ SCANREG /OPT จากนั้นนั่งรอวินโดวส์จะแพ็คข้อมูลให้ปรับแต่ง Cache สำหรับ Floppy Diskไปที่ System Properties และคลิกแถบ Performance และคลิก File System คลิกแถบ Removable Disk และเลือกค่า Enable write-behind caching on all removable disk drives
เพิ่มประสิทธิภาพ Hard Diskวินโดว์ 98
จะเห็นฮาร์ดดิสก์บนช่อง IDE อาจจะเพิ่มประสิทธิภาพของดิสก์ โดยไปที่ System Properties จากนั้นเลือกแถบ Device Manager แล้วเปิดส่วน Hard Disk Controller จะเห็นดีไวซ์คอนโทรลเลอร์อุปกรณ์ที่ด้านบนของรายการ (ที่เขียนว่า BUS MASTER Controller) จากนั้นเลือกปุ่ม Properties และเลือกแถบ Settings จากนั้นเลือก Both IDE Channels Enabled
ให้วินโดวส์ปิดงานที่ไม่มีการตอบสนองโดยอัตโนมัติ
ถ้าต้องการให้ปิดงานที่ไม่มีการตอบสนองโดยอัตโนมัติ สามารถทำได้ดังนี้ โดยเปิด Regedit แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Control Panel\Desktop\AutoEndTasks] ให้แก้ไขค่าเป็น 1 แล้วแก้ค่า WaitToKillAppTimeout เป็นจำนวนวินาทีที่คุณต้องการ เช่นเปลี่ยนเป็น 10ให้วินโดวส์ใช้แรมให้หมดก่อนจึงค่อยใช้ Virtual Memory มา Swap Fileไปที่ Start >> Run พิมพ์ system.ini หาบรรทัดที่มีหัวข้อว่า [386Enh] แล้วพิมพ์คำว่า ConservativeSwapfileUsage=1 ต่อท้ายบรรทัดล่างสุด วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่มีแรมมากกว่า 128 ขึ้นไป เพราะมันจะเอาพื้นที่ของ Ram ไปทำ Cache วิธีนี้ทำให้ Com เร็วขึ้น 40% เลยทีเดียว
วิธีเก็บไฟล์ Windows Update ไว้ในเครื่องแบบที่อัพเดทอัตโนมัติมาลงเครื่อง พอครบร้อยเปอร์เซ็นต์ จะมีกรอบมาให้ Install อย่าเพิ่ง Install ให้ไป Copy มาก่อน โดยจะซ่อนอยู่ใน Program Files ให้โชว์ All Files และก็อปโฟลเดอร์ชื่อ WindowsUpdate มาไว้ก่อน แล้วค่อย Install เพราะเมื่อ Install แล้ว วินโดว์จะลบโฟลเดอร์นี้ออกไปแบบอัตโนมัติ ไฟล์ Update นี้สามารถเอาไปลงเครื่องอื่นได้ด้วย
เคลียร์การจำการใช้งานใน Document ใน Start Menu
เราสามารถเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ไม่ให้ผู้อื่นรู้ว่าเราใช้งานอะไรบ้าง ทำได้โดยเปิด Regedit ไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] ที่หน้าต่างด้านขวา ให้หาหรือเพิ่มค่าชนิด DWORD Value แล้วใส่ชื่อเป็น ClearRecentDocsOnExit ดับเบิลคลิก ใส่ค่าเป็น 1
เคลียร์ Bios ด้วยการ Debug
Start >> Program >> Accesories >> MS-DOS Promptพอหน้าจอขึ้น C:\ ให้พิมพ์คำว่าDebug (Then the cursor change to - )- o 70 2e (โอ วรรค เจ็ดศูนย์ วรรค สองอี)- o 71 ff (โอ วรรค เจ็ดหนึ่ง วรรค เอฟเอฟ)- q (คิว)
ตั้งเวลา Shutdown ใน Windowsใน WinMe
สร้าง ShortCut ใน Scheduled Tasks แล้วให้รัน windows/rundll.exe;user.exe,exitwindowsใน WinXPใช้คำสั่ง [c:\windows\system32\]shutdown.exe [-s-r-l] [-t sec]-s = shutdown-r = restart-l = logoff-t = timeoutยกตัวอย่างเช่น shutdown.exe -s -t 60 นั่นหมายความว่าให้ Shutdown โดยนับถอยหลัง 60 วินาที
Enable/Disable Registry Editor
วิธี Disable Registryเปิด Regedit ไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] ที่หน้าต่างด้านขวา ให้หาหรือเพิ่มค่าชนิด DWORD Value แล้วใส่ชื่อเป็น DisableRegisrtyTools ใส่ค่าเท่ากับ 1วิธี Enable Registryเปิด Notepad สร้างไฟล์ Enable.reg ขึ้นมา แล้วเขียนตามนี้... REGEDIT4 [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System]"DisableRegistryTools"=dword:00000000 เวลาใช้ให้ Double Click ที่ไฟล์ Enable.reg แล้วกด Yes
ถอดรหัส Logon บนวินโดวส์เข้าไปที่
C:\Windows แล้วหาไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .pwl ถ้าต้องการที่จะทำลายรหัสทิ้งไปเลย ก็ให้ลบไฟล์นี้ทิ้งไปได้เลย แต่ถ้าต้องการจะเปลี่ยนรหัสแค่ชั่วครั้งชั่วคราว ก็ให้เปลี่ยนนามสกุลของไฟล์จาก .pwl เป็นชื่ออื่นๆอะไรก็ได้ แล้วเมื่อ Logon มาอีกที มันก็จะให้กรอกรหัสใหม่
ลบรายชื่อโปรแกรมที่ตกค้างใน Add/Remove
หลังจากลบโปรแกรมนั้นออกจากเครื่องแล้ว ไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurentVersion\Uninstall] แล้วลบโฟลเดอร์โปรแกรมที่ตกค้างออก (ที่จริงเรียกว่าซับคีย์ แต่ผมเรียกเป็นโฟลเดอร์ละกัน เข้าใจง่ายดี) ** สามารถแก้ไขชื่อโปรแกรมที่จะให้แสดงใน Add/Remove ได้ด้วย โดยเลือกโฟลเดอร์โปรแกรมที่ต้องการที่หน้าต่างด้านขวา หาคีย์ชื่อ DisplayName แล้วเปลี่ยนเป็นชื่อที่ต้องการ วิธีนี้ไม่ส่งผลใดๆกับโปรแกรมนะครับ สามารถ Remove โปรแกรมได้ตามปกติ
เพิ่ม IE Auto Scan
ปกติเมื่อพิมพ์ชื่อเว็บ ถ้าโดเมนผิด IE จะหาโดเมนที่ถูกได้ โดยเป็น .com, .org, .net และ .edu แต่เราสามารถเพิ่มโดเมนให้กับ IE ได้ โดยไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Internet Explorer\Main\UrlTemplate] ที่หน้าต่างด้านขวา สร้างคีย์ชนิด String Value ตั้งชื่อเป็นตัวเลขต่อจากที่มีอยู่ เช่นถ้ามีถึง 4 ก็ใส่ชื่อเป็น 5 จากนั้นแก้ไขค่าคีย์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ ใส่เป็น www.%s.xxx ถ้าต้องการนามสกุลอื่น เช่น .gov ก็เพิ่มคีย์ใหม่ แล้วแก้ไขค่าเหมือนข้างต้น แต่เปลี่ยนส่วนขยายเป็น .gov เป็นต้น

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ส่งงาน Dos ระบบปฏิบัติการ

นายสมพงศ์ มนตรีวงศ์
5022252105
วิทยาการคอมพิวเตอร์
1.กฎการตั้งชื่อไฟล์มีอะไรบ้าง
ตอบ..กฎการตั้งชื่อ file
1. มีความยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร
2. ไม่มีช่องว่างระหว่างชื่อ
3. ไม่มีอักขระพิเศษดังนี้ * ? . \ " / [ ] : – < > + = ; ,
4. สามารถใส่นามสกุลหรือส่วนขยาย (Extension) ได้ไม่เกิน 3 ตัว ซึ่งต้องมีจุดคั่นระหว่างชื่อกับนามสกุล ดังตัวอย่าง
TEXT.BAK 90PRICES.WK1 LETTER.DOC CUSTOMER.DBF AUTOEXEC.BAT COMMAND.COM CUPRINT.EXE

2.สัญลักษณ์ใดที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในการตั้งชื่อไฟล์
ตอบ.. * ? . \ " / [ ] : – < > + = ; ,
3.จงอธิบายคำสั่งต่อไปนี้
1. C:\>DIR สั่งให้เครื่องแสดงไฟล์ทั้งหมดจากแผ่นในไดรว์ C:
2.C:\>DIR D: สั่งให้เครื่องแสดงไฟล์ทั้งหมดจากแผ่นในไดรว์ D:
3.C:\>DIR/P ¿ สั่งให้เครื่องแสดงทีละหน้า (Page) แล้วหยุดรอ จนกว่าจะมีการกดคีย์ใดๆ
4. C:\>DIR/W ¿ สั่งให้เครื่องแสดงชื่อไฟล์บรรทัดละ 5 ไฟล์ (wide)
5.C:\>DIR *.EXE ¿ แสดงทุกไฟล์ที่มีส่วนขยาย (หรือ นามสกุล) เป็น EXE
6.C:\>DIR S*.* ¿ แสดงทุกไฟล์ที่ชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร S นามสกุลอะไรก็ได้
7.C:\>DIR A*.* ¿ แสดงทุกไฟล์ ที่ชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A นามสกุลอะไรก็ได้

4.Copy มีหน้าที่..ทำการคัดลอกไฟล์ 1 ไฟล์ หรือมากกว่าไปยังแผ่นดิสก์แผ่นเดียวกัน หรือแผ่นอื่น
ตอบ..
1. C:\>copy test.txt D: ¿
หมายถึง คัดลอกไฟล์ชื่อ test.txt จาก C: ไปไว้ที่ D: โดยใช้ชื่อเดิม
2. C:\>copy test.txt A:final.txt ¿
หมายถึง คัดลอกไฟล์ชื่อ test.txt จาก C: ไปไว้ที่ A: โดยให้เปลี่ยนชื่อเป็น final.txt
3. C:\>copy A:s*.* ¿
หมายถึง การคัดลอกไฟล์ทุกไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วยอักษร S ใน drive A: มาไว้ใน drive C:

5.ยกตัวอย่างการใช้คำสั่ง ren จากไฟล์ข้อ 4
ตอบ.. 1. C:\>copy test.txt D: ¿
2. C:\>ren final.txt D: ¿

6.ยกตัวอย่างการใช้คำสั่ง del จากไฟล์ข้อ 4
ตอบ.. C:\>A: final.txt ¿
C:\>del A: final.txt ¿

7.ยกตัวอย่างการใช้คำสั่ง attrib จากไฟล์ข้อ 4
ตอบ..เปลี่ยนชื่อไฟล์ให้เป็นชื่อใหม่ ดังตัวอย่างC:\>attrib +r +h old.exe หมายถึง กำหนด file ให้อ่านได้อย่างเดียว และซ่อนตัวจากการมองเห็น


8.จงใช้คำสั่ง dos สร้าง file directory ให้ได้ผลลัพธ์ต่อไปนี้
ตอบ..
C:/a /b/a1 /b1 /b2C:\>md a C:\>md b C:\>cd a C:\a>md a1 C:\a>cd.. C:\>cd b C:\b>md b1 C:\b>md b2 C:\b>cd..

9.จงอธิบาย
1. CLS (Clear Screen)
หน้าที่ ลบหน้าจอ เมื่อใช้คำสั่งนี้ หน้าจอจะว่าง เหลือเฉพาะ C:\> (ถ้าขณะนั้นเครื่องทำงานอยู่
ที่ drive C:) การใช้คำสั่งใช้ดังนี้
C:\>cls ¿
2. DATE
หน้าที่ ใช้สำหรับกำหนด วัน เดือน ปี ที่เป็นปัจจุบันไว้ในหน่วยความจำของเครื่อง
C:\>DATE ¿
หน้าจอจะปรากฏข้อความ
Current Date Friday 01-05-1996
Enter new Date (mm-dd-yy)
ให้ใส่ เดือน วันที่ และปี ค.ศ. ที่ต้องการเปลี่ยนตามรูปแบบ แล้วกด Enter แต่ถ้าไม่ต้องการเปลี่ยน ก็
ให้กด Enter ผ่าน
3. TIME
หน้าที่ เป็นคำสั่งสำหรับใช้กำหนดเวลาที่เป็นปัจจุบันก่อนการทำงาน ซึ่งจะทำให้เราทราบได้ว่า การ
แก้ไขข้อมูลครั้งล่าสุดได้กระทำเมื่อไร
C:\>TIME ¿
หน้าจอจะปรากฏข้อความ
Current Date Friday 01-05-1996
Enter new Date (mm-dd-yy)
Current Time is 00:45:50
Enter new time (hh:mm:ss)
ให้ทำการป้อนเวลาปัจจุบันตามแบบฟอร์ม เสร็จแล้วกด Enter แต่ถ้าไม่ต้องการเปลี่ยนเวลาก็กด Enter
ผ่าน ซึ่งหน้าจอก็จะปรากฏเครื่องหมาย C:\>
4. VER
หน้าที่ ใช้สำหรับตรวจสอบดูว่า DOS ที่เราใช้อยู่เป็นรุ่นอะไร โดยการสั่ง
C:\>VER ¿
หน้าจอจะปรากฏข้อความว่า MS-DOS VERSION 6.22
5. VOL
รูปแบบคำสั่ง (I) VOL [d:]
เป็นคำสั่งในการขอดูชื่อแผ่น (volume label)
6. FORMAT
แผ่นดิสก์ที่ซื้อมาใหม่นั้น จะคล้ายคลึงกับตึกที่ถูกสร้างเสร็จใหม่ๆ มีลักษณะเป็นเนื้อที่โล่งกว้าง ซึ่งถ้าเราจะทำเป็นสำนักงาน ก็ต้องมีการกั้นเป็นห้องๆสำหรับใช้งานตามวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ห้องผู้จัดการห้องธุระการ เป็นต้น ซึ่งแผ่นดิสก์เปล่าที่วางขายทั่วไป ก็อยู่ในลักษณะเดียวกันคือ ยังคงเป็นเนื้อที่ว่างๆ ที่ยังไม่มีการจัดแบ่งเป็นห้องใดๆเลย ดังนั้น สิ่งแรกที่จะต้องทำกับแผ่นดิสก์เหล่านี้ก่อนที่จะนำมาใช้งานก็คือ การเตรียมแผ่นให้พร้อมที่จะเก็บข้อมูลเสียก่อน โดยวิธีการที่เรียกว่า การฟอร์แมตแผ่น (Disk Formatting) การฟอร์แมตจะเป็นวิธีการที่แบ่งเนื้อที่ในแผ่นดิสก์ออกเป็นส่วนๆในลักษณะที่เป็นวงๆ จากขอบนอกสุดของแผ่น ไปจนถึงขอบในสุด แต่ละวงนี้เรียกว่า แทรค (TRACK) โดยในแต่ละแทรคก็จะถูกแบ่งออกเป็นห้องย่อยๆ เรียกว่า เซคเตอร์ (SECTOR) ซึ่งแต่ละเซคเตอร์นี้เอง ที่จะใช้เป็นที่เก็บข้อมูล การฟอร์แมตแผ่นโดยใช้คำสั่ง FORMAT นั้น นอกจากจะใช้เตรียมแผ่นที่ซื้อมาใหม่แล้ว ยังใช้กับแผ่นที่ใช้งานเก่าได้ด้วย ซึ่งในกรณีที่นำแผ่นเก่ามาฟอร์แมตใหม่ ก็จะเป็นการลบล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกเก็บอยู่แต่เดิมในแผ่นออกไปด้วย ดังตัวอย่าง
C:\>FORMAT A: ¿ สั่งให้เครื่องทำการฟอร์แมตแผ่น A
C:\>FORMAT A:/S ¿ ฟอร์แมตแผ่น A แล้วบันทึก DOS ลงไปด้วย
C:\>FORMAT B:/V ¿ ฟอร์แมตแผ่น A และตั้งชื่อแผ่น (Volume Label)

10.การดู option ของคำสั่งพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ.. C:\>dir /เช่น C:\>dir d /เป็นการดู option ของ D:

ข้อสอบกลางภาควิชาระบบปฏิบัติการ

1.จงบอกองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์และหน้าที่ระบบปฏิบัติการ
ตอบ..องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนคือ
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware )
2.ซอฟต์แวร์ (Software)
3.บุคลากร (Peopleware)
4.ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
5.กระบวนการทำงาน (Procedure)
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
1. การติดต่อกับผู้ใช้ หรือยูเซอร์อินเทอร์เฟซ (User interface)
2. ควบุคมดูแลอุปกรณ์ (Control devices)
3. จัดสรรทรัพยากร หรือรีซอร์สระบบ (Resources management)

2.System Call มีหน้าที่อย่างไร อยู่ส่วนไหนของระบบปฏิบัติการ(จงวาดโครงสร้างของระบบประกอบ)
ตอบ..
- System Call ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่าง Application Program กับ Hardware หรือ การจัดการกับระบบต่างๆ เช่นระบบไฟล์ หรือการจัดการ Process ของ OS นั้น Application จะติดต่อ OS ได้อย่างไร วิธีที่ OS ใช้ก็คือการมี System Call ที่เปรียบเสมือน Subroutine ใน OS โปรแกรมจะเรียกใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ ของ OS เหมือนการเรียกใช้ Subroutine ซึ่ง compiler ในภาษาโปรแกรมจะแปลงโปรแกรมย่อยนั้นให้เป็นวิธีการเรียก System Call ในระบบ multitasking ที่มีหลายงานทำงานพร้อมกัน OS จะแยก Application Program ออกจาก Hardware และตัว OS เอง ดังนั้น Application จะไม่สามารถเรียกโดยการกระโดดเข้ามาทำงานในตำแหน่งของโปรแกรมย่อยโดยตรงได้ การเรียกใช้ System Call นั้นมักจะอาศัยคำสั่งภาษาเครื่องพิเศษคือ Software Interrupt พร้อมกับส่ง parameter เข้าไปให้ OS กับประเภทการประมวลผล
- การควบคุมโปรเซส - การจัดการกับไฟล์ - การจัดการดีไวซ์ - การบำรุงรักษาข้อมูล - การติดต่อสื่อสาร
ถ้ามันแปลยากนัก ก็ลองหาที่อื่นก็จะสะดวกกว่า :STFW




3.โครงสร้างของ Kernal แบบ Micro Kernal และ Monolithic Kernal
ตอบ..
เคอร์เนล [1] (kernel อ่านว่า เคอร์เนิล) หมายถึง ส่วนประกอบหลักของระบบปฏิบัติการ ซึ่งคอยดูแลบริหารทรัพยากรของระบบ และติดต่อกับฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ เนื่องจากว่าเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ เคอร์เนล นั้นเป็นฐานล่างสุดในการติดต่อกับทรัพยากรต่างๆ เช่น หน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลาง และ อุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต
1. ประเภทรูปแบบ เคอร์เนล
รูปภาพแสดงหลักการทำงานของโมโนลิทริค เคอร์เนล
1. 1. โมโนลิทริค เคอร์เนล (Monolithic kernel)
โมโนลิทริค เคอร์เนลมีอยู่ใน:
Linux kernel
MS-DOS, Microsoft Windows 9x Series (Windows 95 Windows 98 เป็นต้น)
Agnix
1. 2. ไมโครเคอร์เนล (Microkernel)
รูปภาพแสดงหลักการทำงานของไมโครเคอร์เนล
ตัวอย่างของไมโครเคอร์เนล และ ระบบปฏิบัติการที่มีพื้นบน ไมโครเคอร์เนล:
AIX
AmigaOS
Amoeba
Chorus microkernel
EROS
Haiku
K42
LSE/OS
KeyKOS
The L4 microkernel family
Mach, used in GNU Hurd, NEXTSTEP, OPENSTEP, and Mac OS X
MERT
Minix
MorphOS
NewOS
QNX
Phoenix-RTOS
RadiOS
Spring operating system
VSTa
Symbian OS

4.จงอธิบายการทำงานของ Process State และการตัดสินใจ ของ CPU ว่าจะดึง Process ไหนมาทำงาน
ตอบ..
Process (สถานะของโปรเซส) การแสดงสถานะของโปรเซสที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อแต่ละโปรเซสกำลังทำงานอยู่นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะของโปรเซสในแต่ละช่วงเวลา โดยการทำงานของโปรเซสจะเกิดขึ้นบนสถานะใดสถานะหนึ่งเท่านั้น ซึ่งสถานะของโปรเซสประกอบด้วย
1. New คือ สถานะที่โปรเซสใหม่กำลังถูกสร้างขึ้น
2. Ready คือ สถานะที่โปรเซสกำลังรอคอยหรือพร้อมที่จะครอบครองหน่วยซีพียูเพื่อทำงาน
3. Running คือ สถานะที่โปรเซสได้ครอบครองซีพียู หรือโปรเซสที่กำลังทำงานตามคำสั่งของโปรแกรม
4. Waiting คือสถานะที่โปรเซสได้สิ้นสุดลง
จากสถานะของโปรเซส จะทำให้ทราบว่าโปรเซสใดที่ถูกส่งไปให้ ซีพียูทำงานก่อน ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องมีการตัดสินในการส่งโปรเซสเข้าครอบครองซีพียู



5.จงอธิบายรายละเอียดและหน้าที่ของ PCB ( Process Control Block )
ตอบ.. PCB ( Process Control Block ) บล็อกควบคุมโปรเซส เป็นหน้าที่ของหน่วยความจำที่ระบบปฏิบัติการกำหนดไว้เพื่อเก็บข้อมูลที่สำคัญของโปรเซสไว้ เมื่อระบบปฏิบัติการมอบเวลาซีพียูให้โปรเซสอื่นครอบครองหลังจากโปรเซสนั้นได้กลับมาครอบครองเวลาซีพียูอีกครั้งหนึ่ง โปรเซสจะนำข้อมูลกลับมาใช้งานข้อมูลของ PCB ของโปรเซส


6.จงบอกความแตกต่างของ Process และ Thread
ตอบ.. Process คือ โปรแกรมที่กำลังเอ็กซิคิวต์อยู่ โปรเซสนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบแบ่งเวลาที่จำเป็นต้องใช้รีซอร์สของระบบเพื่อให้งานสำเร็จรีซอร์สที่ต้องการ
Thread คือ ส่วนประกอบย่อยของโปรเซสนั่นเอง


7.ข้อควรพิจารณาในการออกแบบ Algorithm ที่ใช้จัดการเวลาใน CPU คือ
ตอบ.. 1. อรรถประโยชน์ของซีพียู (CPU Utilization)
2. ทรูพุฒ ( Throughput )
3. เวลาทั้งหมด (Turnaround Time )
4. เวลารอคอย ( Waiting Time )
5. เวลาตอบสนอง ( Response Time )


8.จงบอกหลักการและวิธีการทำงานของ Algorithm ที่ใช้จัดการเวลาใน CPU ตลอดข้อดีและข้อเสีย
ตอบ.. วิธีการทำงานของ Algorithm แบบ FCFS คือ ลักษณะการทำงานของการจัดการซีพียู แบบมาก่อนได้ก่อนนี้ เป็นอัลกอลิทึมแบบไม่ให้สิทธิก่อน นั่นก็คือเมื่อโปรเซสใดครอบครองเวลาซีพียุแล้ว ซีพียูจะไม่มีโอกาสได้ว่างจนกว่าความต้องการใช้ซีพียูนั้นจะสิ้นสุดลงด้วยการสลับไปยังเวลา อินพุต / เอาต์พุต ซึ่งจะก่อเกิดปัญหาใหญ่ให้กับระบบคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลาเพราะผู้ใช้คนอื่นๆอาจต้องรอคอยเวลาให้โปรเซสของตนเอง ซึ่งอาจเป็นโปรเซสที่สั้นๆ เสร็จลงพร้อมๆกับโปรเซสของผู้อื่นที่ใช้เวลายาวนานกว่ามากๆ
วิธีการทำงานของ Algorithm แบบ SJF คือ เป็นวิธีที่ไม่ได้คำนึงถึงลำดับในคิวงาน ว่างานใดมาก่อน แต่จะพิจารณาถึงงานหรือโปรเซสที่ใช้เวลาการประมวลผลน้อยที่สุดก็จะได้บริการหน่วยซีพียูก่อน อย่างไรก็ตาม หากกลุ่มงานมีเวลาประมวลผลเท่ากัน ก็จะพิจารณาโปรเซสแบบมาก่อนได้ก่อนแทน
วิธีการทำงานของ Algorithm แบบ วิธีตามลำดับความสำคัญ คือ เป็นวิธีที่มีการกำหนดความสำคัญของโปรเซสแต่ละโปรเซสไม่เท่ากัน ดังนั้นโปรเซสที่จะเข้าครอบครองซีพียู ต้องมีลำดับความสำคัญสูงสุดในกลุ่ม ดังนั้นโปรเซสใดที่มีลำดับความสำคัญสูงกว่าก็จะถูกส่งไปประมวลผลก่อน ถึงแม้ว่าจะมาทีหลังก็ตาม ในขณะที่โปรเซสที่มีความสำคัญต่ำกว่าถึงแม้จะมาก่อน ก็จะถูกพิจารณาทีหลังก็ตามลำดับความสำคัญต่อไป
วิธีการทำงานของ Algorithm แบบ วิธีหมุนเวียนการทำงาน คือ การจัดตารางด้วยวิธีการหมุนเวียนการทำงานนี้ ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลา โดยจะใช้พื้นฐานวิธีแบบมาก่อนได้ก่อน (FCFS) เป็นหลัก แต่โปรเซสจะไม่สามารถครอบครองซีพียูได้เท่ากับเวลาที่ต้องการ ดังนั้น ด้วยวิธีนี้จึงมีการกำหนดให้แต่ละโปรเซสที่เข้าใช้บริการซีพียูจะถูกจำกัดด้วยเวลาใช้งานที่เท่าๆ กัน ซึ่งช่วงเวลาสั้นๆ ที่เรียกว่า เวลาควันตัม (Quantum Time) โดยอาจมีช่วงเวลาระหว่าง 10 ถึง 100 มิลลิวินาที ครั้นเมื่อโปรเซสใดถูกประมวลผลจนครบเวลาควันตัมแล้ว ก็จะถูกนำออกไปจัดคิวต่อท้ายใหม่ (กรณียังประมวลผลไม่เสร็จ) และจะนำโปรเซสลำดับถัดไปในคิวมาประมวลผล ซึ่งเป็นไปในลักษณะหมุนเวียนกันทำงานนั้นเอง ดังนั้นโปรเซสจะไม่สามารถใช้เวลาเกินกว่าเวลาควันตัมที่กำหนด แต่สามารถใช้เวลาประมวลผลน้อยกว่าเวลาควันตัมได้


9.เงื่อนไขที่ทำให้เกิด DeadLock มีอะไรบ้าง
ตอบ..วงจรอับอาจจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเงื่อนไขทั้งสามข้อต่อไปนี้เกิดขึ้น
1. เมื่อมีทรัพยากรที่ไม่สามารถถูกใช้ร่วมกับหลายๆ โปรเซสพร้อมกันได้ (Mutual exclusion condition) ถ้ามีทรัพยากรอย่างน้อย 1 ตัวในระบบที่จะยอมให้โปรเซสเพียง 1 ตัวใช้งานมันได้เท่านั้น นั่นก็คือถ้ามีโปรเซสอื่นเข้ามาร้องขอใช้งาน โปรเซสนั้นจะต้องรอจนกว่าโปรเซสดังกล่าวได้ใช้งานเสร็จและปล่อยทรัพยากรนั้นว่าง
2. เมื่อมีการถือครองและรอ (Hold and wait condition)ถ้าโปรเซสสามารถถือครองทรัพยากรที่ตัวเองได้รับ และในขณะเดียวกันก็สามารถทำการร้องขอทรัพยากรเพิ่มเติมได้
3. เมื่อการทำงานในระบบไม่มีการแทรกกลางคัน (No preemption condition) ถ้าโปรเซสกำลังใช้งานทรัพยากรอยู่และระบบไม่สามารถบังคับให้โปรเซสนั้นปลดปล่อยทรัพยากรนั้นให้เป็นอิสระได้ โดยทรัพยากรจะเป็นอิสระได้ก็จ่อเมื่อโปรเซสยกเลิกการถือครองเท่านั้น
อย่างไรก็ เงื่อนไขทั้งสามอาจจะทำให้เกิด หรือ ไม่ทำให้เกิดวงจรอับก็ได้ วงจรอับจะเกิดขึ้นจริง ๆ ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขเกิดขึ้น
4. เมื่อเกิดวงจรรอคอย () ถ้าเกิดวงจรลูกโซ่ของโปรเซส 2 ตัว หรือมากกว่า ที่ต่าง ๆ รอคอยทรัพยากรที่ถือครองโดยโปรเซสที่อยู่ในวงจรลูกโซ่นั้น


10.Vitual Memory คืออะไร มีกระบวนการทำงานอย่างไร
ตอบ.. Virtual Memory คือ หน่วยความจำเสมือน
หน่วยความจำเสมือนจะใช้พื้นที่หน่วยความจำสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ มาเป็นส่วนหหนึ่งของหนึ่งของหน่วยความจำหลัก ด้วยการจำลองพื้นที่หน่วยความจำบนฮาร์ดดิสก์เสมือนเป็นหน่วยความจำหลักที่เชื่อมโยงกับหน่วยความจำหลักเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้น หน่วยความจำเสมือนจึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์ไปใช้งาน





11.จงหาค่าเฉลี่ยเวลาการใช้ CPU ของโปรเซสที่กำหนดให้ต่อไปนี้(แสดงวิธีทำและขั้นตอนอย่างละเอียด)
Process
Time
P1
8 ms
P2
10 ms
P3
20 ms
P4
15 ms
P5
30 ms
P6
22 ms

11.1 Algorithm แบบ FCFS
ตอบ..
P1
P2
P3
P4
P5
P6
0 8 18 38 53 83 105
P1 = 0
P2 = 8
P3 = 18 ( 0 + 8 + 18 + 38 + 53 + 83 ) / 6 = 33.33 มิลลิวินาที
P4 = 38
P5 = 53
P6 = 83

11.2 Algorithm แบบ SJF
ตอบ..
P1
P2
P4
P3
P6
P5
0 8 18 33 53 75 105
P1 = 0
P2 = 8
P4 = 18 ( 0 + 8 + 18 + 33 + 53 + 75 ) / 6 = 31.16 มิลลิวินาที
P3 =33
P6 = 53
P5 = 75

11.3 Algorithm แบบ Round Robin กำหนดให้ค่า Quantum Time =8
ตอบ..
P1
P2
P3
P4
P5
P6
P2
P3
P4
P5
P6
P3
P5
ต่อ0 8 16 24 32 40 48 50 58 65 73 81 85 93

P6
P5
93 99 105

11.4 Algorithm แบบ Priority โดย Process มี Priority ดังนี้
4,3,2,1,6,5
ตอบ..
P4
P3
P2
P1
P6
P5
0 15 35 45 53 75 105
P4 = 0
P3 = 15
P2 = 35 ( 0 + 15 + 35 + 45 + 53 + 75 ) / 6 = 54.66 มิลลิวินาที
P1 = 45
P6 = 53
P5 = 75

11.5 ถ้า Process ที่ 2,4,6 เป็นงาน ที่ต้องการแบบเร่งด่วน ( ForeGround ) และ Process 1,3,5 ต้องการเป็นลำดับถัดมา ( Background ) จงใช้ Algorithm ในการหาค่าเฉลี่ยดังกล่าว
ตอบ..
P2
P4
P6
P1
P3
P5
0 10 15 47 55 75 105
P2 = 0
P4 = 10
P6 = 15 ( 0 + 10 + 15 + 47 + 55 + 75 ) / 6 = 33.66 มิลลิวินาที
P1 = 47
P3 = 55
P5 = 75